backup og meta

แผลร้อนในในช่องปาก อาการเจ็บปวดที่พบบ่อย จัดการยังไงได้บ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 25/08/2020

    แผลร้อนในในช่องปาก อาการเจ็บปวดที่พบบ่อย จัดการยังไงได้บ้าง

    โรคแผลร้อนใน เป็นแผลเล็กๆ ที่เกิดขึ้นในช่องปาก และส่งผลทำให้เรารู้สึกปวด แสบ เวลารับประทานอาหาร บางครั้งก็สามารถทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ บางครั้งที่เรานอนดึก ภูมิต้านทานไม่ดี เครียด ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ แผลร้อนในก็สามารถขึ้นได้ หลายๆ คนก็คงเคยมีอาการใช่ไหมคะ วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับแผลร้อนในมาฝากกันค่ะ

    ทำอย่างไรเมื่อเป็น โรคแผลร้อนใน

    สาเหตุของแผลร้อนในนั้นมีอยู่มากมาย หากคุณเป็นแผลร้อนในเป็นครั้งคราว สิ่งที่ควรพิจารณาก็คือ

  • การแปรงฟัน แปรงฟันเบาๆ ด้วยแปรงสีฟันขนนุ่มๆ และอย่าลืมขัดฟันด้วยไหมขัดฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
  • ยาสีฟัน เปลี่ยนไปใช้ยาสีฟันที่มีไม่ส่วนผสมของโซเดียมลอเรทซัลเฟต (Sodium lauryl sulfate) เนื่องจาก ยาสีฟันที่มีสารนี้สามารถกระตุ้นให้เกิดแผลร้อนในและทำให้เกิดแผลกำเริบซ้ำๆ
  • ลดความเครียด คนส่วนใหญ่มักจะเกิดแผลร้อนในขณะที่มีความเครียด หรือกำลังมีเรื่องทุกข์ใจอย่างรุนแรง
  • ให้ความสนใจกับอาหารการกินเมื่อเป็น โรคแผลร้อนใน

    อาหารที่คุณรับประทานสามารถบอกได้ว่า แผลร้อนในของคุณจะดีขึ้นหรือแย่ลง ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ด มีฤทธิ์เป็น กรด พริก อาหารรสจัด และน้ำอัดลม รวมถึงควรหลีกเลี่ยงผลไม้และผักบางชนิด เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว พวกมะนาว ส้ม แอปเปิ้ล ลูกฟิก มะเขือเทศ สับปะรด และสตรอเบอร์รี่ เพื่อจะได้ไม่กระตุ้นให้เกิดแผลร้อนในมากยิ่งขึ้น

    พยายามอย่าทำให้เกิดการระคายเคืองภายในช่องปาก

    แผลร้อนในเกี่ยวข้องกับรอยบาด และรอยแผลเปิดที่บริเวณผิวหน้าในปาก ซึ่งอาจเกิดได้จากปัจจัยเหล่านี้คือ

    • เหล็กดัดฟัน หากคุณกำลังใส่เหล็กดัดฟัน ควรระวังไม่ให้บาดผิวในปาก ปรึกษากับแพทย์ เกี่ยวกับการกำจัดส่วนของเหล็กดัดฟันที่คมออกไป และใส่แว็กซ์ครอบเพื่อปกป้องด้านในปาก
    • ฟันปลอม แผลร้อนในสามารถเกิดได้จากการสวมฟันปลอมที่ไม่พอดี หากคุณกังวลว่า ฟันปลอมที่ไม่พอดีนั้นจะทำให้เกิดแผลร้อนใน ควรปรึกษากับแพทย์เพื่อหาทางเลือกอื่น

    บ้วนปากด้วยน้ำเกลือหรือเบคกิ้งโซดา

    ผสมเกลือในปริมาณที่น้อยกว่า 1 ช้อนชาลงในน้ำเปล่า แล้วกลั้วปากด้วยน้ำเกลือให้ทั่ว แล้วบ้วนทิ้ง ควรทำวันละสองถึงสามครั้ง หากคุณไม่ชอบรสชาติของน้ำเกลือ อาจลองใช้เป็นเบกกิ้งโซดาแทน โดยผสมเบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชา กับน้ำอุ่นปริมาณหลายออนซ์ ใช้กลั้วปากแล้วบ้วนทิ้ง

    วิธีการทั้งสองมีประสิทธิภาพในการช่วยเยียวยาแผลร้อนใน เนื่องจากช่วยลดความเป็นกรด และลดเชื้อแบคทีเรียภายในปาก

    ลองหาหนทางเยียวยาแบบอื่น

    หากทางเลือกที่กล่าวมาด้านบนนั้นไม่ได้ผล ลองใช้วิธีเยียวยาง่ายๆ 3 วิธีดังต่อไปนี้ ที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงค่าระดับค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (ph level) ภายในปากที่ส่งผลต่อการเกิดแผลร้อนใน ได้แก่

  • รับประทานโยเกิร์ตทุกวัน
  • ประคบถุงชาที่เปียก (หรือใช้แล้ว) ตรงบริเวณแผลร้อนใน
  • บีบแคปซูลวิตามินอี แล้วใช้สำลีพันปลายไม้แต้ม หรือบีบลงตรงที่บริเวณแผลร้อนใน
  • หากคุณมีอาการแผลร้อนในเป็นประจำและไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีเหล่านี้ อาจหมายความว่า มีสาเหตุที่แท้จริงบางอย่าง ที่คุณอาจจะยังไม่ทราบ ในบางกรณีแผลร้อนในอาจจะเป็นสัญญาณเบื้องต้นที่คุณควรจะให้ความสนใจ หากคุณมีข้อสงสัยหรือข้อกังวลใจอย่าลังเลที่จะสอบถามเพื่อรับทราบคำแนะนำ แนวทาง และการรักษาจากแพทย์อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการป้องกันโรคแผลร้อนในที่ต้นเหตุ ก่อนจะส่งผลกระทบไปยังส่วนอื่นๆภายในช่องปากได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 25/08/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา