นอกจากนี้ ฟันคุดอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้ได้ด้วย
- ฟันผุ
- โรคเหงือกอักเสบ หรือโรคปริทันต์อักเสบ
- การสบฟันผิดปกติ
- ถุงน้ำหรือเนื้องอกในกระดูกขากรรไกร
หากมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่กล่าวมาข้างต้น ควรเข้าพบคุณหมอทันที
สาเหตุ
สาเหตุของฟันคุด
ฟันคุดอาจเกิดจากขากรรไกรหยุดการเจริญเติบโต ขากรรไกรเล็กเกินไป หรือมีฟันเกในแนวโค้งฟัน ทำให้มีพื้นที่ไม่พอให้ฟันขึ้นได้แบบปกติทุกซี่ โดยเฉพาะฟันกราม 4 ซี่สุดท้ายที่ขึ้นช้าสุด จึงอาจกลายเป็นฟันคุดได้บ่อยสุด อย่างไรก็ตาม ปัจจัยอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันคุดได้
- ฟันเกิน (Supernumerary Teeth) เป็นภาวะที่มีจำนวนฟันมากกว่าปกติ อาจเกิดจากพัฒนาการการขึ้นของฟันผิดปกติ ส่วนใหญ่จะมีฟันเกินเพียง 1 ซี่ และมักพบที่ขากรรไกรล่างมากกว่าขากรรไกรบน แต่หากมีฟันเกินหลายซี่ มักเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพอื่น เช่น ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ กลุ่มอาการการ์ดเนอรส์ (Gardner’s syndrome)
- อุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับช่องปาก ฟันคุดอาจเป็นผลกระทบของการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุบริเวณช่องปาก เช่น การหกล้มหน้ากระแทกพื้นในวัยเด็ก ซึ่งอาจทำให้ฟันงอกช้ากว่าปกติและกลายเป็นฟันคุดได้ โดยเฉพาะหากเป็นฟันบนหน้า
แม้ฟันคุดจะเป็นภาวะที่พบได้ทั่วไป แต่ปัจจัยบางประการ เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรม การไม่จัดฟันเพื่อแก้ปัญหาฟันสบ ฟันเก ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดฟันคุดได้
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยฟันคุด
ทันตแพทย์อาจตรวจวินิจฉัยฟันคุดและปัญหาที่อาจเกิดจากฟันคุดด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- การซักประวัติสุขภาพและสอบถามอาการที่เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากและฟัน
- การตรวจเหงือกและฟัน
- การเอกซเรย์ช่องปาก เพื่อดูว่ามีฟันคุดหรือไม่ ฟันคุดอยู่ในลักษณะใด สร้างความเสียหายให้เหงือก ฟันซี่อื่น ๆ หรือกระดูกขากรรไกรหรือไม่
หากพบว่ามีฟันคุดหรือมีปัญหาในช่องปากอื่น ๆ ทันตแพทย์จะรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสมในขั้นตอนต่อไป
การรักษาฟันคุด
หากฟันคุดไม่ได้ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวด การอักเสบ การติดเชื้อ หรือไม่ได้ส่งผลต่อฟันซี่ข้างเคียงหรือการสบฟัน หรือนำไปสู่ปัญหาในช่องปากอื่น ๆ อาจไม่จำเป็นต้องรักษาแต่อย่างใด แต่หากส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทันตแพทย์อาจต้องรักษาด้วยวิธีการต่อไปนี้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย