- อาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับสมอง อาจทำให้เกิดอาการตาแพ้แสง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง โรคก้านสมองเสื่อม เนื้องอกในต่อมใต้สมอง
- อาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวกับดวงตา อาจทำให้เกิดอาการตาแพ้แสง เช่น ตาแห้ง ม่านตาอักเสบ ต้อกระจก กระจกตาถลอก เยื่อบุตาอักเสบ
- ปัญหาสุขภาพจิต อาการตาแพ้แสงอาจเกิดกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า โรคกลัวที่ชุมชน โรควิตกกังวล โรคอารมณ์สองขั้ว อาการแพนิก
นอกจากนี้ อาการตาแพ้แสงอาจเกิดจากการรักษาปัญหาทางสายตา เช่น การทำเลสิก หรือการผ่าตัดอื่น ๆ รวมถึงอาจเกิดจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาด็อกซีไซคลิน ยาเตตราไซคลีน ยาฟูโรซีไมด์ ยาแฮโลเพริดอล
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยตาแพ้แสง
ในเบื้องต้นคุณหมออาจสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย เช่น มีอาการตาแห้งหรือไม่ รู้สึกแสบตาขณะสัมผัสแสงแดดหรือไม่ ในผู้ป่วยบางรายคุณหมออาจทำการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ร่วมด้วย เพื่อดูความผิดปกติของดวงตา และอาจใช้ในการยืนยันผลการวินิจฉัย
การรักษาตาแพ้แสง
วิธีการรักษาอาการตาแพ้แสง อาจขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการเจ็บป่วยของโรค โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ยาในกลุ่มทริปแทน เช่น ยาซูมาทริปแทน อาจใช้บรรเทาอาการปวดศีรษะที่อาจมีสาเหตุมาจากอาการปวดไมเกรนและไวต่อแสง
- การฉีดโบทูไลลินัม ท็อกซิน (Botulinum Toxin) อาจช่วยรักษาอาการเยื่อบุตาแห้ง หรือที่เรียกว่า “เกล็ดกระดี่ขึ้นดวงตา”
- กลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีน เช่น ยาไดอะซีแพม เพื่อบรรเทาอาการวิตกกังวล
- น้ำตาเทียมรูปแบบขี้ผึ้ง อาจช่วยบรรเทาอาการตาแห้ง
- ยาหยอดตาสเตียรอยด์ อาจช่วยบรรเทาภาวะม่านตาอักเสบ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย