อาการต่างๆ ที่เกิดจากตากลัวแสง
โดยปกติแล้วอาการตากลัวแสงนั้นจะเชื่อมโยงกับการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ในดวงตาที่ทำหน้าที่ตรวจจับแสงและเส้นประสาทไปที่หัวของคุณ ไมเกรนเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของความไวแสงถึง 80% ซึ่งไมเกรนเป็นสาเหตุของอาการปวดหัวอย่างรุนแรง โดยเกิดจากปัจจัยหลายประการรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาหาร ความเครียด และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ส่งผลให้มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนเกิดขึ้น นอกจากนั้นแล้วอาการไมเกรนนั้นยังเกิดขึ้นบ่อยในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชาย นอกจากนั้นแล้วอาการตากลัวแสง ยังส่งผลต่อสมองและต่อตาได้อีกด้วย
อาการตากลัวแสงที่ส่งผลต่อสมอง
- สมองอักเสบ โรคไข้สมองอักเสบเกิดขึ้นเมื่อสมองเกิดอาการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสหรือสาเหตุอื่นๆ ความรุนแรงของโรคไข้สมองอักเสบ สามารถคุกคามชีวิตได้
- อาการไขสันหลังอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบคือการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง การติดเชื้อแบคทีเรียลักษณะนี้สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น สมองถูกทำลาย สูญเสียการได้ยิน เกิดอาการชัก หรือแม่แต่ถึงขั้นเสียชีวิต
- เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (Subarachnoid hemorrhage) อาการเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง เกิดขึ้นจากการมีเลือดออกระหว่างสมองและเนื้อเยื่อรอบๆ ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายของสมอง โรคหลอดเลือดสมอง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
อาการตากลัวแสงที่ส่งผลต่อดวงตา
- กระจกตาถลอก การขัดกระจกตาเป็นการบาดเจ็บที่กระจกตาชั้นนอกสุดของตา การบาดเจ็บประเภทนี้ถือเป็นเรื่องปกติและอาจเกิดขึ้นได้หากคุณได้รับทราย สิ่งสกปรก โลหะ หรือสารอื่น ๆ เข้าสู่ดวงตา หากกระจกตาติดเชื้อมันจะส่งผลทำให้เกิดภาวะร้ายแรงที่เรียกว่า “แผลในกระจกตา”
- ส่วนตาขาวอักเสบ (Scleritis) เกิดขึ้นเมื่อส่วนสีขาวของดวงตาอักเสบ โดยส่วนตาขาวอักเสบนั้นมักเกิดจากโรคที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคลูปัส ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น อาการปวดตา น้ำตาไหล และการมองเห็นไม่ชัด
- ตาแดง เกิดขึ้นจากเยื่อบุชั้นเนื้อเยื่อที่ปกคลุมส่วนสีขาวของดวงตาติดเชื้อหรืออักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากไวรัส แต่ก็สามารถเกิดจากแบคทีเรีย และอาการแพ้ ได้เช่นกัน ส่งผลให้เกิดอาการคัน ตาเป็นสีแดง และปวดตา
ควรทำอย่างไรเมื่อเกิดอาการตากลัวแสง
หากคุณกำลังสงสัยว่ากำลังมีอาการตากลัวแสง สิ่งที่ดีที่สุดคือการไปพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพดวงตาและสมอง ซึ่งการทดสอบของแพทย์ อาจรวมถึงการทดสอบต่างๆ เหล่านี้
- ตรวจตาด้วยการใช้กล้องจุลทรรศน์พิเศษที่มีแสงส่องสำหรับตรวจดวงตา
- ถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) ซึ่งใช่แม่เหล็กและคลื่นวิทยุอันทรงพลัง เพื่อสร้างรายละเอียดของดวงตา
- ตรวจสอบปริมาณน้ำตา เพื่อดูว่าตาแห้งหรือไม่
นอกจากนั้นแล้วควรหยุดทานยาที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการตากลัวแสง รวมไปถึงการสวมแว่นตาด้วยเลนส์สีกุหลาบ แต่เลนส์ชนิดนี้ก็ไม่ได้เหมาะกับทุกคน ดังนั้นการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นการดีที่สุด