backup og meta

ตาล้า สาเหตุ อาการ และการรักษา

ตาล้า สาเหตุ อาการ และการรักษา

ตาล้า เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการใช้สายตามาเกินไป เช่น การขับรถเดินทางไกล จ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดอาการปวดตา ระคายเคือง โดยปกติอาการตาล้าอาจไม่ก่อให้เกิดภาวะรุนแรง และสามารถหายไปได้เองหากดูแลอย่างถูกวิธี

คำจำกัดความ

ตาล้า คืออะไร

ตาล้า คืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับดวงตา ส่งผลให้การมองเห็นเปลี่ยนแปลงชั่วคราว เนื่องจากมีการใช้สายตาอย่างหนักในระหว่างวัน เช่น การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือ เล่นแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน เพราะการใช้สายตายเป็นเวลานานอาจทำให้กะพริบตาน้อยลง ทำให้ขาดความชุ่มชื้นในดวงตา จนตาแห้ง แสบตา และตาล้า ซึ่งปกติแล้วควรกะพริบตาประมาณ 18 ครั้งต่อนาที เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในดวงต

ตาล้า

อาการตาล้า

อาการตาล้า สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเตือน ดังต่อไปนี้

  • เจ็บตา ระคายเคืองตา
  • ตาแห้ง หรือตาแฉะ
  • น้ำตาไหล
  • ปวดศีรษะ
  • ลืมตายาก
  • มีปัญหาในการโฟกัสสิ่งรอบตัว มองเห็นเป็นภาพซ้อน
  • ตาไวต่อแสง
  • ปวดคอ ไหล่ หรือหลังจากการนั่งจดจ่อเป็นเวลานาน

สาเหตุ

สาเหตุตาล้า

สาเหตุที่อาจทำให้ตาล้า มีหลายประการ ดังนี้

  • การจ้องหน้าจออุปกรณ์ดิจิทัล โดยไม่หยุดพักสายตา
  • ใช้สายตาในพื้นที่ที่แสงน้อย
  • ขับรถเดินทางไกล เนื่องจากต้องใช้สมาธิจ้องมองถนนเป็นเวลานาน
  • ดวงตาสัมผัสกับอากาศ หรือลมแรง เช่น เครื่องปรับอากาศ พัดลม
  • โรคสายตา เช่น ตาแห้ง สายตาสั้น สายตายาว

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงตาล้า

ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยที่สุดคือการใช้สายตาจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ เป็นเวลานาน โดยไม่กะพริบตาเพิ่มความชุ่มชื้น และได้รับผลกระทบจากแสงหน้าจอสะท้อนเข้าดวงตา ทำให้ดวงตามีความตึงเครียด ส่งผลให้เกิดอาการตาล้า เจ็บตา

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยตาล้า

คุณหมออาจสอบถามอาการ และพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุนำไปสู่อาการตาล้า และทดสอบการมองเห็น

การรักษาตาล้า

การรักษาอาการตาล้าเป็นไปตามสาเหตุที่ผู้ป่วยเป็น โดยส่วนใหญ่คุณหมออาจแนะนำให้ใส่แว่นที่เหมาะกับปัญหาสายตา และกิจกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำ เพื่อลดอาการตาล้า ปวดตา

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันตาล้า

เพื่อป้องกันอาการตาล้า ควรปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ดังนี้

  • กะพริบตาบ่อย ๆ
  • เมื่อใช้สายตาเป็นเวลานาน ควรพักสายตาเป็นระยะ โดยการละสายตาจากหน้าจออุปกรณ์ดิจิทัล ให้ห่างออกไปประมาณ 20 ฟุต หรือ 6 เมตร ทุก ๆ 20 นาที เป็นเวลา 20 วินาที
  • จำกัดเวลาอยู่หน้าจอ โดยเฉพาะเด็ก เพราะอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดตา
  • ปรับแสงในห้องมีความสว่างพอดี เมื่อดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ เล่นโทรศัพทมือถือ
  • หากสามารถควบคุมอากาศภายในห้อง หรือภายในบ้านได้ เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความชื้น พัดลม ควรปรับอย่างพอดี ป้องกันลมเข้าตา ที่อาจทำให้ตาแห้ง แสบตา นำไปสู่อาการตาล้า
  • สวมใส่แว่น หรือคอนแทคเลนส์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
  • ใช้น้ำตาเทียมหากรู้สึกว่าตาแห้ง เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Eye Fatigue. http://www.webmd.com/eye-health/eye-fatigue-causes-symptoms-treatment. Accessed September 29, 2021

Eyestrain. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/eyestrain/symptoms-causes/syc-20372397. Accessed September 29, 2021

Eyestrain. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/eyestrain/diagnosis-treatment/drc-20372403 . Accessed September 29, 2021

13 Tips to Prevent Eye Fatigue. https://www.webmd.com/eye-health/eye-fatigue-causes-symptoms-treatment. Accessed September 29, 2021

11 Tips for Eliminating Computer Eye Strain. http://visionsource.com/blog/tips-for-eliminating-computer-eye-strain/ . Accessed September 29, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/09/2021

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความเชื่อผิดๆ และข้อเท็จจริงสามประการเกี่ยวกับ สายตา

เตรียมพร้อมรับมือกับ ภาวะสายตายาวตามวัย ในวัยใกล้ 40



เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 29/09/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา