ในหมู่ชายรักชาย การมีเซ็กส์ (sex) โดยไม่ป้องกันรวมถึงการมีคู่นอนหลายคน อาจเสี่ยงให้เกิดการติดต่อของโรคทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน หนองในเทียม เอดส์ ซิฟิลิส ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
ติดตามรอบเดือนของคุณ
คุณต้องการออกจากระบบใช่หรือไม่
ในหมู่ชายรักชาย การมีเซ็กส์ (sex) โดยไม่ป้องกันรวมถึงการมีคู่นอนหลายคน อาจเสี่ยงให้เกิดการติดต่อของโรคทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน หนองในเทียม เอดส์ ซิฟิลิส ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
การป้องกันตัวเอง นอกจากช่วยลดแนวโน้มในการติดเชื้อแล้ว ยังเป็นการป้องกันคู่นอนในเวลาเดียวกันด้วย เพราะสำหรับบางโรค หากติดเชื้อในระยะเริ่มต้น อาจจะยังไม่แสดงอาการ ทำให้ชายรักชายอาจแพร่เชื้อไปให้คู่นอนของตัวเองได้โดยไม่รู้ตัว
การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันของชายรักชาย อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่อไปนี้
การป้องกันตัวเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถทำได้ดังนี้
เมื่อมีเซ็กส์ (sex) ไม่ว่าทางอวัยวะเพศ ปาก หรือทวารหนัก ชายรักชายควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพราะช่วยป้องกันการสัมผัสสารคัดหลั่งหรือเลือด ซึ่งเป็นช่องทางการแพร่เชื้อของโรคให้กับคู่นอนได้
นอกจากนี้ ชายรักชายยังควรใช้สารหล่อลื่นระหว่างมีเซ็กส์ เพราะช่วยให้ถุงยางอนามัยไม่ปริหรือแตกเมื่อใช้งาน โดยสารหล่อลื่นที่เหมาะสม ควรทำจากน้ำหรือซิลิโคน ควรหลีกเลี่ยงการใช้โลชั่น เบบี้ออยล์ หรือสารอย่างอื่นที่มีส่วนประกอบเป็นน้ำมัน เพราะอาจทำให้ถุงยางอนามัยแตกได้ง่าย
การมีความสัมพันธ์กับคู่นอนที่ปลอดโรค อาจช่วยให้มั่นใจได้ว่าชายรักชายจะไม่เสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เมื่อมีเซ็กส์ (sex) โดยไม่ป้องกัน หากมีคู่นอนหลายคน อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น จึงควรลดจำนวนคู่นอน และป้องกันตนเองทุกครั้ง
ชายรักชายและคู่นอน ควรไปสถานพยาบาลเพื่อตรวจโรคอย่างน้อยทุก 6 เดือนหรือปีละครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าตัวเองหรือคู่นอนไม่ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เนื่องจากโรคหลายโรค เช่น หนองใน หนองในเทียม ซิฟิลิส จะไม่แสดงอาการ แต่หากไม่ป้องกันตัวเอง ผู้ติดเชื้อยังสามารถแพร่ไปให้คู่นอนของตนได้
ยิ่งไปกว่านั้น การพบโรคจากการตรวจยังช่วยให้ชายรักชายได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะโรคบางโรค เช่น ซิฟิลิส เอชไอวี จะรักษาได้ยากเมื่อเข้าสู่ระยะหลัง ๆ หรืออาจนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงถึงชีวิตได้
การตรวจโรคที่พบได้ทั่วไปตามสถานพยาบาล มีดังนี้
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ บี และซี สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนของไวรัสชนิดนั้น ๆ ขณะเดียวกันโรคหูดที่อวัยวะเพศ อาจป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนสำหรับเชื้อฮิวแมนพัพพิลโลมาไวรัส (Human Papillomavirus หรือ HPV) ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรค
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป รวมถึงการใช้ยาเสพติด มีส่วนทำให้การตัดสินใจและสติสัมปชัญญะของชายรักชายลดลง จนอาจนำไปสู่การมีเซ็กส์ (sex) โดยไม่ป้องกัน ซึ่งเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
ในกรณีของชายรักชายที่ไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวีแต่มีเซ็กส์กับคนที่ติดเชื้อเอชไอวี อาจทำให้เสี่ยงหรือมีโอกาสได้รับเชื้อเอชไอวี ดังนั้น การกินยาเพร็พ (Pre-Exposure Prophylaxis หรือ PrEP) อย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันโรค โดยชายรักชายต้องกินยาวันละ 1 ครั้งและกินทุกวัน เพราะฤทธิ์ยาจะลดลงหากรับประทานไม่สม่ำเสมอ
สำหรับชายรักชายฝ่ายรับ ยาเพร็พสามารถป้องกันเชื้อเอชไอวีได้ 99% และอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อจากการใช้เข็มฉีดยาได้ประมาณ 74% อย่างไรก็ตาม ควรสวมถุงยางอนามัยร่วมด้วยเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ
ยาเป็ป (Post-Exposure Prophylaxis หรือ PEP) คือ ยาต้านเอชไอวีแบบฉุกเฉินสำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี แต่อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี เช่น ถุงยางอนามัยฉีกขาด ไม่สวมถุงยางอนามัย หรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ
ยาเป็ปจะจ่ายภายใต้ดุลยพินิจของคุณหมอ โดยต้องกินครั้งแรกภายใน 72 ชั่วโมงหลังเผชิญความเสี่ยง และกินต่อเนื่องหลังกันเป็นเวลา 28 วัน โดยห้ามขาด เพราะการกินยาไม่สม่ำเสมอจะทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง
ติดตามรอบการมีประจำเดือนของคุณ เพื่อดูวันที่เหมาะสมที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์หรือคุมกำเนิด
ติดตามรอบการมีประจำเดือนของคุณ เพื่อดูวันที่เหมาะสมที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์หรือคุมกำเนิด
ระยะเวลารอบเดือน
(วัน)
ช่วงมีประจำเดือน
(วัน)
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Gay and Bisexual Men’s Health: Sexually Transmitted Diseases. https://www.cdc.gov/msmhealth/STD.htm. Accessed January 22, 2021
PrEP Effectiveness. https://www.cdc.gov/hiv/basics/prep/prep-effectiveness.html#:~:text=PrEP%20reduces%20the%20risk%20of,99%25%20when%20taken%20as%20prescribed. Accessed January 22, 2021
PrEP กับ PEP คืออะไร ทำความเข้าใจก่อนใช้. https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/prep-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-pep-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83/#:~:text=%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%9E%20(PrEP%2DPre,%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%20%E0%B9%86%203%20%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99. Accessed January 22, 2021
PrEP: How effective is it at preventing HIV?. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hiv-aids/expert-answers/prep-hiv/faq-20456940. Accessed January 22, 2021
PEP (post-exposure prophylaxis). https://www.cdc.gov/hiv/basics/pep.html#:~:text=PEP%20(post%2Dexposure%20prophylaxis),recent%20possible%20exposure%20to%20HIV. Accessed January 22, 2021
What is PEP?. https://www.cdc.gov/hiv/basics/pep/about-pep.html. Accessed January 22, 2021
Pre-Exposure Prophylaxis (PrEP). https://www.cdc.gov/hiv/risk/prep/index.html. Accessed January 22, 2021
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย