เมื่ออายุ 12 ปี การเปลี่ยนแปลงทางเพศจะเห็นชัดขึ้น จนกระทั่งอายุประมาณ 18 ปี ร่างกายจะถือว่าเติบโตอย่างสมบูรณ์ โดยมีรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้
- หน้าอกขยายใหญ่ เต้านมเต่งตึงเป็นทรงหรืออยู่ในสภาพสมบูรณ์ โดยขนาดของยอดอกจะขยายไปพร้อมกับหน้าอกด้วย ทำให้ต้องใส่เสื้อชั้นในเพื่อกระชับหน้าอกไม่ให้หย่อนคล้อย
- มีอารมณ์ทางเพศ
- รังไข่ผลิตไข่ได้ พร้อมสำหรับการสืบพันธุ์
- มีขนขึ้นบริเวณหัวเหน่า อวัยวะเพศ แขน ขา และรักแร้
- ผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศสีเข้มขึ้น
- มีรูปร่างเป็นผู้ใหญ่ สะโพกผาย
- เริ่มเป็นบนสิวบนใบหน้า
นอกจากนี้ วัยรุ่นหญิงจะเริ่มมีประจำเดือน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเพศของอวัยวะสืบพันธุ์ภายในร่างกาย เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวัยรุ่นหญิงก้าวเข้าสู่ช่วงอายุประมาณ 10-16 ปี และผู้หญิงปกติจะมีประจำเดือนเดือนละ 1 ครั้งจนกระทั่งอายุประมาณ 45-50 ปี ประจำเดือนจะหมดลง
ทั้งนี้ ประจำเดือนเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความพร้อมในการสืบพันธุ์ของเพศหญิง โดยประจำเดือน คือเลือดที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกเนื่องจากไข่ของฝ่ายหญิงไม่ได้รับการปฏิสนธิ แล้วไหลออกมาเป็นเลือดประจำเดือน
อย่างไรก็ตาม หากไข่ได้รับการปฏิสนธิ ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เพศหญิงไม่เป็นประจำเดือนจนกว่าจะคลอดลูก และร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น เต้านมใหญ่ขึ้น กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานขยายและแข็งแรงขึ้น พร้อมสำหรับการคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ
การเปลี่ยนแปลงทางเพศ เมื่อเข้าสู่วัยทอง
นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางเพศในช่วงวัยรุ่นแล้ว เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเพศอีกครั้ง เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมนเพศ ทั้งในเพศชายและเพศหญิง
ในเพศชาย ระดับเทสโทสเตอโรนจะเริ่มค่อย ๆ ลดลง เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ร่างกายยังคงผลิตอสุจิอยู่ สามารถสืบพันธุ์ได้ แต่อาจมีอาการอื่น ๆ ที่พบได้ เช่นการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ อารมณ์ทางเพศลดลง ความรู้สึกง่วงซึมหรือไม่มีแรงระหว่างวัน ทั้งนี้ ระดับฮอร์โมนเพศจะลดลงจนเห็นความเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างเห็นได้ชัดเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป
ขณะเดียวกัน เมื่อเพศหญิงอายุประมาณ 48-52 ปี รังไข่จะหยุดผลิตไข่ ทำให้ร่างกายไม่สามารถมีบุตรได้อีก เนื่องจากการลดลงของผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน รวมทั้งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อาทิ
- ไม่มีประจำเดือน
- ช่องคลอดแห้ง
- อารมณ์ทางเพศลดลง
- นอนหลับยาก
- หงุดหงิดง่าย
- เหงื่อออกตอนกลางคืน
- น้ำหนักเพิ่มขึ้น เนื่องจากระบบเผาผลาญทำงานแย่ลง
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย