ความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจมาพร้อมกับการจูบ
การจูบกันอาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายของแบคทีเรีย ไวรัส จากคนสู่คน ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากภาวะต่าง ๆ ดังนี้
- ไข้หวัดและโควิด-19 เกิดจากการติดเชื้อของไวรัสที่ติดต่อได้จากการสัมผัสเชื้อผ่านทางเดินหายใจส่วนบน เช่น การสูดลมหายใจ สัมผัสกับสารคัดหลั่ง ซึ่งสังเกตได้จากอาการไอ มีไข้ หนาวสั่น น้ำมูกไหล เจ็บคอ ปวดศีรษะ
- ไวรัสตับอักเสบบี แม้จะไม่สามารถแพร่กระจายผ่านการไอหรือจาม แต่อาจเกิดการติดเชื้อเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งในร่างกาย เช่น อสุจิ เลือด น้ำลาย ดังนั้นการจูบกันอาจทำให้อีกฝ่ายได้รับเชื้อไวรัสนี้ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย อาเจียน ปวดข้อ มีไข้ ปัสสาวะสีเข้ม สีผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือดีซ่าน
- หูด มีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ หรือเป็นแผล ที่อาจเกิดขึ้นได้บนผิวหนังทั่วทั้งร่างกาย เช่น ใบหน้า อวัยวะเพศ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV)
- ต่อมน้ำเหลืองโต เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein-Barr) บริเวณต่อมน้ำเหลือง อาจส่งผลให้คอบวม มีไข้ เหงื่อออกตอนกลางคืน น้ำมูกไหล เจ็บคอ
- โรคเริม เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริมผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันกับผู้ที่ติดเชื้อ และสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย การใช้สิ่งของร่วมกัน การจูบกัน สัมผัสกับผิวหนัง ส่งผลให้เกิดอาการคันและมีแผลบริเวณอวัยวะเพศ ช่องปาก
- ฟันผุ การจูบอาจทำให้ได้รับแบคทีเรียชนิดไม่ดี ที่ส่งผลให้เกิดฟันผุได้ เช่น สเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ (Streptococcus Mutans) พอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิส (Porphyromonas Gingivalis)
- ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Disease) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียไนซเรีย เมนิงไจไทดิส (Neisseria Meningitidis) เป็นโรคร้ายแรงที่อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ เนื่องจากแบคทีเรียนี้อาจทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อบุสมอง ไขสันหลัง หากสังเกตว่ามีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนกะทันหัน ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจทันที
วิธีป้องกันการติดเชื้อจากการจูบกัน
วิธีป้องกันการติดเชื้อจากการจูบ อาจทำได้ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการจูบหากทราบว่าคู่รักกำลังป่วย หรือเป็นโรคติดต่อ
- ปิดปากขณะไอหรือจาม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของละอองน้ำลายในอากาศ
- รักษาสุขอนามัยช่องปาก ด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ
- ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น ไวรัสตับอักเสบบี อีสุกอีใส การติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย