ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของช่องคลอดแห้ง
ปัจจัยต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะช่องคลอดแห้งได้
- ไม่เล้าโลมก่อนมีเพศสัมพันธ์ หรือเล้าโลมน้อยเกินไป
- สวนล้างช่องคลอดเป็นประจำ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นบ่อย
- แช่น้ำอุ่นบ่อย
- เครียดจัด
- สูบบุหรี่
- ปัญหาทางด้านสุขภาพ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า โรคผิวหนังบริเวณช่องคลอด
- เข้ารับการรักษามะเร็งด้วยวิธีบางอย่าง เช่น เคมีบำบัด ผ่าตัด
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยช่องคลอดแห้ง
คุณหมออาจวินิจฉัยภาวะช่องคลอดแห้งด้วยการซักประวัติทางการแพทย์ อาการ และพฤติกรรมของผู้ป่วย เช่น รับประทานยาอะไรหรือไม่ มีการสวนล้างช่องคลอดบ่อยแค่ไหน และอาจวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- การตรวจเลือด เพื่อวัดระดับฮอร์โมนเพศในร่างกาย
- การตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจสอบว่ามีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะหรือไม่
- การตรวจภายใน เพื่อตรวจสอบว่าลักษณะของเยื่อบุช่องคลอดเป็นอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ เช่น เยื่อบุบางลง มีรอยแดง หรือสารคัดหลั่งที่ลดปริมาณลง ร่วมกับการตรวจความเป็นกรดด่างของช่องคลอด
- การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Test) โดยคุณหมอจะใช้เครื่องมือถ่างขยายช่องคลอดสอดเข้าไปเพื่อให้เห็นปากมดลูก จากนั้นจึงเก็บตัวอย่างเซลล์เยื่อบุปากมดลูกไปส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อดูความผิดปกติของเซลล์ การอักเสบ การติดเชื้อ โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
การรักษาช่องคลอดแห้ง
ช่องคลอดแห้งอาจรักษาได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
การใช้สารหล่อลื่น
เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ แต่ควรเลือกสารหล่อลื่นที่ไม่มีน้ำหอมเป็นส่วนผสม เพื่อป้องกันช่องคลอดระคายเคือง หรือการใช้เจลหล่อลื่น (Vaginal moisturizer) เพื่อหล่อลื่นช่องคลอด ลดอาการแห้ง คัน
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย