สาเหตุ
สาเหตุของต่อมลูกหมากอักเสบ
- ต่อมลูกหมากอักเสบจากการติดเชื้อ สาเหตุเกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียหลุดรอดจากระบบทางเดินปัสสาวะเข้าไปบริเวณต่อมลูกหมาก และทำให้ต่อมลูกหมากติดเชื้อ
- ต่อมลูกหมากอักเสบซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเชื้อแบคทีเรีย ทางการแพทย์ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าความเครียด การบาดเจ็บของเส้นประสาทบริเวณระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่าง รวมถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในอดีต มีส่วนทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบได้
ปัจจัยเสี่ยงของต่อมลูกหมากอักเสบ
ปัจจัยเสี่ยงของต่อมลูกหมากอักเสบ ประกอบด้วย
- อายุระหว่าง 50-59 ปีหรือมากกว่า
- ติดเชื้อในท่อปัสสาวะ
- ใส่สายสวนปัสสาวะ
- มีภาวะปวดท้องหรือไม่สบายท้องเรื้อรัง อาจเคยเป็นโรคลำไส้แปรปรวน
- เคยเป็นต่อมลูกหมากอักเสบมาก่อน
- ติดเชื้อเอชไอวี หรือเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์
- มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
- เคยได้รับการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากไปตรวจ
เมื่อไรควรไปพบคุณหมอ
ควรรีบไปพบคุณหมอเมื่อสังเกตพบอาการต่อมลูกหมากอักเสบ เช่น ปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะบ่อย ซึ่งอาจเกิดร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น เป็นไข้ ปัสสาวะมีเลือดปน
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยต่อมลูกหมากอักเสบ
ในการวินิจฉัยโรค คุณหมอจะสอบถามเกี่ยวกับอาการและประวัติการป่วยของคนไข้ เพื่อให้ทราบสาเหตุของอาการป่วย หรือชนิดของต่อมลูกหมากอักเสบที่อาจกำลังเป็นอยู่ รวมทั้งตรวจคนไข้ด้วยวิธีการต่อไปนี้
- ตรวจทางทวารหนัก โดยคุณหมอจะใช้นิ้วสอดเข้าไปตรวจต่อมลูกหมากผ่านรูทวารของคนไข้โดยตรง เพื่อให้ทราบถึงลักษณะการบวมหรือลักษณะของต่อมลูกหมากขณะนั้น
- ตรวจของเหลวจากอวัยวะเพศ เช่น ปัสสาวะ น้ำอสุจิ หรือสารคัดหลั่งจากต่อมลูกหมากซึ่งจะหลั่งออกมาเมื่อคุณหมอนวดต่อมลูกหมากระหว่างการตรวจทวารหนัก เพื่อหาสัญญาณของการอักเสบหรือการติดเชื้อแบคทีเรีย
- ตรวจเลือด เพื่อตรวจหาสาเหตุการติดเชื้อ และความผิดปกติอื่น ๆ ของต่อมลูกหมาก เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก
- ตรวจยูโรพลศาสตร์ (Urodynamic Tests) หรือการตรวจความแรงของการหลั่งปัสสาวะ เนื่องจากต่อมลูกหมากที่อักเสบหรือบวม มักทำให้ปัสสาวะแสบขัด ไม่สามารถไหลออกมาตามปกติได้
- ตรวจกระเพาะปัสสาวะด้วยการส่องกล้อง เพื่อตรวจดูว่า ท่อปัสสาวะถูกกีดขวางหรือไม่ ในกรณีที่คนไข้ปัสสาวะแสบขัด
การรักษาต่อมลูกหมากอักเสบ
โดยปกติ คุณหมอจะใช้ยาปฏิชีวนะรักษาคนไข้ต่อมลูกหมากอักเสบ อันประกอบด้วย
- ยาฆ่าเชื้อ ในกรณีของผู้ป่วยซึ่งต่อมลูกหมากอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย คุณหมอจะสั่งยาให้รับประทานต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ในกรณีป่วยแบบเรื้อรัง อาจต้องรับประทานยาต่อเนื่องถึง 6 เดือน
- ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ (Alpha-blockers) คุณหมอจะสั่งยาในกลุ่มนี้เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อบริเวณต่อมลูกหมากและกระเพาะปัสสาวะ ในกรณีของผู้ป่วยที่ปัสสาวะแสบขัด
- สารต้านการอักเสบหรือยาแก้ปวดและยาคลายกล้ามเนื้อ คุณหมอมักจ่ายยาประเภทนี้เพื่อช่วยลดอาการปวดหรือบวมตามร่างกายซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากภาวะต่อมลูกหมากอักเสบ
นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจต้องรับการรักษาแบบอื่นร่วมด้วย เช่น
- การสวนปัสสาวะ ในกรณีของผู้ป่วยที่ปัสสาวะไม่ออก
- กายภาพบำบัด เนื่องจากบางครั้ง ต่อมลูกหมากอักเสบเกิดจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน นักกายภาพบำบัดจะช่วยแนะนำท่าทางที่ไม่ทำให้อุ้งเชิงกรานบาดเจ็บ
- การบำบัดทางจิต เนื่องจากความเครียดหรือโรคซึมเศร้าอาจเป็นสาเหตุของต่อมลูกหมากอักเสบได้
ดูการปรับพฤติกรรมและการดูแลตัวเอง
ต่อมลูกหมากอักเสบไม่สามารถป้องกันได้ แต่ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้ โดยวิธีการดังนี้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย