ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ (Male Hypogonadism) เป็นภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายได้ไม่เพียงพ ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของผู้ชายในช่วงวัยแรกรุ่น รวมถึงยังอาจทำให้ปริมาณอสุจิไม่เพียงพอ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย
ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ (Male Hypogonadism) เป็นภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายได้ไม่เพียงพ ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของผู้ชายในช่วงวัยแรกรุ่น รวมถึงยังอาจทำให้ปริมาณอสุจิไม่เพียงพอ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้
ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ คือ ภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายได้ไม่เพียงพ ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของผู้ชายในช่วงวัยแรกรุ่น รวมถึงยังอาจทำให้ปริมาณอสุจิไม่เพียงพอ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ ภาวะนี้อาจเกิดได้ตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์ หรืออาจเกิดขึ้นภายหลังก็ได้เช่นกัน โดยภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำอาจเกิดจากการบาดเจ็บ หรือการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำบางประเภทอาจรักษาได้ด้วยการใช้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทดแทน
สำหรับสาเหตุของภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
เป็นภาวะที่เกิดกับลูกอัณฑะโดยตรง ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้
ในภาวะนี้ลูกอัณฑะจะเป็นปกติ แต่การทำงานอาจเกิดความผิดปกติ เนื่องจากมีปัญหากับต่อมใต้สมอง หรือสมองส่วนไฮโปธาลามัส ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณมายังลูกอัณฑะให้ผลิตเทสโทสเตอโรน โดยอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
อาการที่เกิดอาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละ เช่น ถ้าการขาดเทสโทสเตอโรนเกิดขึ้นก่อนช่วงแตกเนื้อหนุ่ม หรือช่วงระหว่างสู่วัยหนุ่มอาจมีอาการ เช่น เข้าสู่ช่วงวัยหนุ่มล่าช้า ลูกอัณฑะและอวัยวะเพศไม่เติบโต ไม่มีขนในที่ลับหรือขนบนใบหน้า ไม่มีการผลิตอสุจิในอัณฑะ ทำให้ไม่สามารถมีบุตรได้
สำหรับผู้ชายที่เข้าสู่วัยหนุ่มแล้ว อาการที่เกิดขึ้นอาจ ได้แก่ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ขาดแรงขับทางเพศและประสิทธิภาพทางเพศต่ำ เหนื่อยอ่อนง่าย ขาดแรงจูงใจ ขาดสมาธิ ไม่มีขนในที่ลับและขนบนใบหน้า จำนวนอสุจิลดลง อัณฑะเล็กและนิ่ม อารมณ์แปรปรวน มีไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น อาจมีหน้าอกใหญ่ขึ้น กล้ามเนื้อโดยรวมลดลง มีริ้วรอยเหี่ยวย่นบนผิว เหงื่อออกเยอะขึ้น
ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำอาจพบได้บ่อยในผู้ชายสูงวัย ระดับเทสโทสเตอโรนในผู้ชายจะเริ่มลดต่ำลงหลังวัย 40 ประมาณกันว่าผู้ชายวัย 50-79 ปี ราวร้อยละ 8.4 มีภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ นอกจากนี้ ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำยังอาจสัมพันธ์กับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยผู้ชายที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ราวร้อยละ 17 อาจมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ
ภาวะนี้อาจเกิดมาจากสาเหตุทางพันธุกรรมได้ เช่น กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์และแคลแมน แต่อาจเกิดขึ้นแบบไม่สม่ำเสมอ และไม่ได้รับส่งต่อมาจากพ่อแม่
ควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง และหากไปปรึกษาคุณหมอ ควรมีการเก็บประวัติการรักษาอย่างละเอียด เช่น ลักษณะของเพศชายที่ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ตั้งแต่ตอนเกิด ภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุง นอกจากนี้ ยังอาจต้องมีการตรวจร่างกายอย่างละเอียด วัดขนาดของอัณฑะ และดูว่าตำแหน่งของถุงอัณฑะถูกต้องหรือไม่
อาการหลายอย่างของภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ เป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง และอาจเกิดขึ้นได้จากภาวะโรคหลายอย่าง ดังนั้น ในการวินิจฉัยภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ เป็นเรื่องสำคัญที่ควรต้องทำการทดสอบทางชีวเคมี เพื่อประเมินระดับของเทสโทสเตอโรนในเลือด
หลังจากการตรวจครั้งแรกแล้วพบว่า มีระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำ ควรตรวจครั้งที่ 2 ซ้ำ หลังจากนั้นอีก 2-3 สัปดาห์ เพื่อยืนยันผลการตรวจ หลังจากนั้น อาจมีการตรวจประเภทอื่นตามมาขึ้นอยู่กับผลการตรวจข้างต้น เช่น ตรวจมวลกระดูก ตรวจน้ำอสุจิ ตรวจวิเคราะห์ยีน อัลตราซาวด์อัณฑะเพื่อตรวจสอบการเติบโต
สำหรับภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำแบบปฐมภูมิ มักจะเป็นการให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทดแทน เพื่อเพิ่มระดับเทสโทสเตอโรนในกระแสโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ แต่อาจมีการรักษาอื่น ๆเพิ่มเติม ซึ่งแตกต่างกันไปตามความจำเป็นของแต่ละคน
การให้เทสโทสเตอโรนทดแทนอาจมีหลายแบบ เช่น
ในระหว่างการรักษา ควรมีการตรวจระดับเทสโทสเตอโรนเพื่อสังเกตดูอาการ ถ้าจำเป็นเพื่อการปรับขนาดของฮอร์โมนที่ให้ จะได้ทำให้แน่ใจว่าฮอร์โมนคืนสู่ระดับปกติ
ถ้าผู้ป่วยมีปัญหามะเร็งต่อมลูกหมาก คุณหมอไม่แนะนำให้ใช้การให้เทสโทสเตอโรน ดังนั้นก่อนใช้การให้ฮอร์โมนทดแทน ควรมีการตรวจต่อมลูกหมากก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีปัญหาเรื่องมะเร็งต่อมลูกหมาก
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากการใช้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนค่อนข้างต่ำ ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้ เช่น ยาฉีดอาจทำให้เกิดเจ็บปวดหรือรอยช้ำบริเวณที่ฉีดยา แบบเจลอาจทำให้เกิดระคายเคืองที่ผิวหนังได้ นอกจากนี้ ยังควรระวังเรื่องการปนเปื้อนและส่งผ่านยาไปยังเด็กและผู้หญิง เพราะอาจเป็นอันตรายได้
การรักษาด้วยเทสโทสเตอโรน อาจทำให้เกิดเซลล์เม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดได้ จึงควรมีการตรวจเลือดเป็นประจำในช่วงที่มีการรักษา
อาการต่อมลูกหมากโต เป็นอีกหนึ่งผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งควรได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ โดยควรตรวจต่อมลูกหมากทุก 3 เดือน ในช่วงปีแรก จากนั้นก็ตรวจปีละครั้งในผู้ชายที่อายุมากกว่า 40 หลังจากเริ่มการรักษาเพื่อตรวจสอบว่า มีภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำหรือไม่
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย