วิธีรักษาฝีมะม่วง
การรักษาฝีมะม่วง แพทย์จะทำการรักษาตั้งแต่ระยะที่ 1 หรือระยะที่ 2 โดยวิธีการรักษามีด้วยกัน 2 วิธี ดังนี้
การรักษาด้วยการกินยา
- แพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะ อะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) แก่ผู้ป่วย โดยรับประทานอะริโธรมัยซิน 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 20-30 และระหว่างการรักษาควรหมั่นสังเกตคู่นอนของตนเองว่ามีอาการของฝีมะม่วงเช่นกันหรือไม่ เพื่อจะได้หาทางรักษา และลดความเสี่ยงในการกลับไปเป็นฝีมะม่วงอีกหลังจากรักษาหายแล้ว ที่สำคัญ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการรักษา เพื่อจะได้ไม่แพร่เชื้อไปสู่คู่นอนหรือผู้อื่น
การผ่าตัด
- ผู้ป่วยที่ก้อนฝีหรือต่อมน้ำเหลืองบวมโตอาจจำเป็นต้องเจาะผิวเอาของเหลวในฝีออกมา เพื่อบรรเทาอาการของโรคให้ทุเลาลง ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางรายที่ลำไส้ตรงตีบหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อย่างรุนแรง อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด
การรักษาฝีมะม่วงในหญิงตั้งครรภ์
ในหญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอิริโธรมัยซิน (Erythromycin) สำหรับยาอะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) อาจใช้ได้เพียงแต่ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์รับรองอย่างเป็นทางการ ควรปรึกษาแพทย์ให้วินิจฉัยและทำการรักษา ไม่ควรซื้อยากินเอง
ทั้งนี้ หากผู้ที่เป็นฝีมะม่วงแล้วไม่เข้ารับการรักษา หรืศฌฮอรักษาไม่หายขาด อาจเกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ การติดเชื้อทางทวารหนัก โรคฝีคัณฑสูตรหรือฝีเรื้อรัง โรคเท้าช้าง โรคปอดอักเสบ โรคไวรัสตับอักเสบ
วิธีป้องกันฝีมะม่วง
เนื่องจากปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันแบคทีเรีย ไมเดีย ทราโคมาติส ของฝีมะม่วง จึงจำเป็นต้องหาวิธีป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดนี้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย