การมีเพศสัมพันธ์ ถือเป็นกิจกรรมทางเพศที่อาจช่วยส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น ช่วยคลายเครียด ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น แต่บางครั้ง หาก มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออก และแน่ใจว่าไม่ได้อยู่ในช่วงมีประจำเดือน อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพบางประการที่ไม่ควรละเลย
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง
การมีเพศสัมพันธ์ ถือเป็นกิจกรรมทางเพศที่อาจช่วยส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น ช่วยคลายเครียด ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น แต่บางครั้ง หาก มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออก และแน่ใจว่าไม่ได้อยู่ในช่วงมีประจำเดือน อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพบางประการที่ไม่ควรละเลย
หากมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
การเสียดสีระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ อาจทำให้เนื้อเยื่อที่บอบบางภายในช่องคลอดฉีกขาด หรือการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ก็อาจเป็นสาเหตุที่ให้ช่องคลอดขยายจนเนื้อเยื่อฉีกขาดได้เช่นกัน และอาจส่งผลให้มีเลือดออกหลังการมีเพศสัมพันธ์ โดยปกติ เลือดมักจะออกมาเพียงเล็กน้อยในระยะเวลาสั้น แต่หากมีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออกเกิน 1-2 วัน ควรเข้าพบคุณหมอ เพราะอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงกว่าได้
ความแห้งในช่องคลอดเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ช่องคลอดแห้งอาจเป็นผลจากภาวะดังต่อไปนี้
การติดเชื้อทำให้เนื้อเยื่อบริเวณช่องคลอดอักเสบ และเสี่ยงฉีกขาดได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ การติดเชื้อราในช่องคลอด และการติดเชื้อในมดลูก ก็ยังอาจทำให้เนื้อเยื่อบอบบาง และฉีกขาดได้ขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ได้
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) เป็นภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญนอกมดลูก ทำให้เวลามีเพศสัมพันธ์ บริเวณนี้อาจอักเสบ และทำให้เลือดออกได้
ภาวะเซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ จะตรวจพบได้ด้วยการส่องกล้องเข้าไปในบริเวณปากมดลูก หากบริเวณปากมดลูกมีเซลล์เล็ก ๆ เป็นลักษณะเหมือนผื่นเกิดขึ้น อาจทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเสียหายได้ง่าย โดยเฉพาะตอนมีเพศสัมพันธ์ ที่มีการเสียดสีบริเวณปากมดลูก ซึ่งเป็นเหตุให้มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ได้
อาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด โดยเฉพาะหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ อาจเป็นหนึ่งในอาการของโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด นอกจากนี้ ภาวะเลือดออกหลังหมดประจำเดือน ก็เป็นหนึ่งในอาการของโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งมดลูกเช่นกัน
หากพบว่ามีเลือดออกจากช่องคลอดนานผิดปกติ ร่วมกับมีอาการคัน เจ็บแสบอวัยวะเพศเมื่อปัสสาวะ คลื่นไส้ และมีปวดท้องอย่างรุนแรง ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากคุณหมอทันที คุณหมอจะได้วิเคราะห์หาสาเหตุ และวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
เนตรนภา ปะวะคัง
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย