ทั้งนี้ ควรรับประทานยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ก่อนเป็นเมนส์หรือก่อนวันที่คาดว่าจะมีอาการปวดท้องเมนส์ ควรรับประทานเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และอาจรับประทานต่อเนื่องติดต่อกันไม่เกิน 3-7 วัน นอกจากนี้ หากรับประทานยาชนิดหนึ่งแล้วไม่ได้ผล อาจเปลี่ยนไปรับประทานยาอีกชนิดได้ แต่ไม่ควรเป็นยาในกลุ่มยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์เหมือนกัน หากรับประทานยาแก้ปวดชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์แล้วไม่หายปวด ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุของการปวดประจำเดือน
อย่างไรก็ตาม ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ มีผลข้างเคียงต่อลำไส้ ผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือเป็นกรดไหลย้อน รวมถึงมีความผิดปกติเกี่ยวกับไต ควรแจ้งอาการป่วยให้คุณหมอหรือเภสัชกรทราบก่อนซื้อยา
ยาคุมกำเนิด สำหรับบรรเทาอาการปวดท้องเมนส์
นอกจากยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ เพศหญิงอาจใช้ยาคุมกำเนิดทั้งแบบเม็ด แบบฉีด แผ่นแปะ และห่วงคุมกำเนิด เพื่อบรรเทาอาการปวดท้องเมนส์ได้ เพราะฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ใช้คุมกำเนิด มีคุณสมบัติช่วยบรรเทาความรุนแรงของอาการปวดท้องเมนส์ได้ ด้วยการลดปริมาณพรอสตาแกลนดินส์ที่ร่างกายหลั่งออกมา
ทั้งนี้ การรับประทานยาคุมกำเนิดเพื่อใช้บรรเทาอาการปวดท้องเมนส์ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงดังนี้
- ประจำเดือนขาด ประจำเดือนมาไม่ปกติ ในกรณีที่ใช้ยาฉีดคุมกำเนิดแบบ 3 เดือน หรือห่วงคุมกำเนิด
- อาเจียน คลื่นไส้
- วิงเวียนศีรษะ
- เจ็บเต้านม
- อารมณ์แปรปรวน
- ลิ่มเลือด พบได้ในผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 35 ปี โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่ แต่เป็นอาการที่พบได้ไม่บ่อยนัก
- น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย