ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงอุ้งเชิงกรานอักเสบ
ปัจจัยบางประการอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบได้ ดังนี้
- เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
- อายุน้อยกว่า 25 ปี
- มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
- สวนล้างช่องคลอดบ่อยครั้ง
- เคยเป็นโรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ หรือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยอุ้งเชิงกรานอักเสบ
การวินิจฉัยอุ้งเชิงกรานอักเสบ คุณหมอสามารถทำได้ ดังนี้
- ตรวจร่างกายเพื่อหาสัญญาณของอุ้งเชิงกรานอักเสบ และตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะโรคหนองในแท้และหนองในเทียม เพราะอาจทำให้เกิดอุ้งเชิงกรานอักเสบได้
- หากผู้ป่วยมีอาการปวดท้องน้อย คุณหมออาจตรวจช่องคลอดหรือปากมดลูก หากมีอาการตกขาวผิดปกติ อาจตรวจรังไข่หรือท่อนำไข่เพื่อตรวจหาฝี และตรวจอาการเจ็บปวดอวัยวะเพศด้วย
- ตรวจการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- อัลตราซาวด์ตรวจอวัยวะภายใน เพื่อหาสัญญาณของอุ้งเชิงกรานอักเสบ
การรักษาอุ้งเชิงกรานอักเสบ
หากตรวจพบโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบตั้งแต่ในระยะแรก ๆ สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ โดยคุณหมอจะรักษาอย่างครอบคลุม เนื่องจากอุ้งเชิงกรานอักเสบอาจเกิดจากโรคหนองในแท้ หรือโรคหนองในเทียม จึงต้องให้ยาปฏิชีวนะผสมกันเพื่อรักษาสาเหตุของการเกิดโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบด้วย
ในการรักษา ผู้ป่วยต้องรับประทานยาปฏิชีวนะประมาณ 14 วัน หรืออาจรับการฉีดยาปฏิชีวนะเพียงครั้งเดียว ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณหมอ และควรมีวินัยในการรับประทานยา เพื่อจะได้กำจัดการติดเชื้อได้ทั้งหมด
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย