เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 2-6 สัปดาห์อาการในระยะที่สองนี้อาจปรากฏชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะแผลบริเวณผิวหนังที่ดูคล้ายกับผื่น หรือแผลที่คล้ายหูดขึ้นอยู่ตามฝ่ามือ เท้า และขาหนีบ โดยไม่มีอาการคัน รวมทั้งอาจมีไข้ เจ็บคอ และต่อมน้ำเหลืองบวม
- ซิฟิลิสระยะแฝง
หากมีอาการในระยะแรก ๆ แต่ไม่รีบเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจนำไปสู่ซิฟิลิสระยะแฝง ซึ่งระยะนี้อาการต่าง ๆ อาจหายไป แต่เชื้อแบคทีเรียยังคงอาศัยอยู่ในร่างกาย อาจกินระยะเวลาเป็นปี ก่อนเชื้อโรคจะพัฒนาเข้าสู่ระยะที่สี่
- ซิฟิลิสตติยภูมิ
นับได้ว่าเป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อแบคทีเรียของโรคซิฟิลิส ที่อาจไปทำลายเส้นประสาทในสมอง หัวใจ หลอดเลือด จนทำให้บางรายตาบอด หูหนวก ความจำเสื่อม และเกิดการติดเชื้อในสมอง หรือไขสันหลังได้
หากสังเกตตนเองแล้วมีอาการคล้ายโรคซิฟิลิสในระยะปฐมภูมิ ควรรีบเข้ารับการรักษา หรือเข้ารับการวินิจฉัยและตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที พร้อมบอกรายละเอียดข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม
วิธีรักษาและป้องกันโรคซิฟิลิส
สำหรับการรักษาโรคซิฟิลิส ผู้ป่วยอาจต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพราะคุณหมอจำเป็นต้องฉีดยาปฏิชีวนะเพนนิซิลลิน (Penicillin) ให้แก่คนไข้เป็นประจำทุกวันผ่านทางหลอดเลือดดำ หรืออาจเป็นการใช้ยาชนิดอื่น ๆ ตามระยะการติดเชื้อ เช่น ด็อกซีไซคลีน (Doxycycline) แอซิโทรไมซิน (Azithromycin) เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone)
อย่างไรก็ตาม โรคซิฟิลิสนั้นป้องกันได้ด้วยการใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ที่สำคัญควรระมัดระวัง หรืองดใช้สิ่งของบางอย่างร่วมกันกับคู่รัก ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย และล้างทำความสะอาดอวัยวะเพศและร่างกายทุกครั้งหลังและก่อนมีเพศสัมพันธ์เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคซิฟิลิส
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย