สาเหตุ
สาเหตุของโลน
ส่วนใหญ่โลนมักแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์หรือสัมผัสกับสิ่งของต่าง ๆ ร่วมกันจากบุคคลที่มีโลน เช่น เสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน ผ้าขนหนู สาเหตุที่อาจพบได้ยาก คือ การแพร่กระจายผ่านการนั่งบนชักโครก เพราะโลนไม่มีเท้าที่สามารถยึดเกาะจับกับสิ่งของผิวเรียบ และอาจตายเองได้ภายใน 1-2 วัน หากหลุดออกจากร่างกายของมนุษย์
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของโลน
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น มีดังนี้
- มีคู่นอนหลายคน
- มีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ
- ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่น เสื้อผ้า ผ้าขนหนู
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโลน
คุณหมออาจวินิจฉัยขอตรวจดูบริเวณที่มีอาการคันเพื่อหาตัวโลน ไข่โลน รอยกัดของโลนโดยรอบ ด้วยเครื่องมือตรวจสอบผิวหนังที่เรียกว่า Dermatoscope และอาจจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ร่วมด้วย
การรักษาโลน
หากโลชั่น หรือแชมพูที่จำหน่ายตามร้านขายยา ซึ่งมีส่วนผสมของเพอร์เมทริน (Permethrin) หรือไพรีทริน (Pyrethrins) 1% ไม่สามารถฆ่าโลนได้ คุณหมออาจสั่งจ่ายยาที่แรงกว่านั้น ซึ่งได้แก่
- มาลาไทออน (Malathion) เป็นยาในรูปแบบโลชั่นที่คุณหมออาจให้ทาบริเวณเกิดอาการและล้างออกหลังจากครบ 8-12 ชั่วโมง
- ยาไอเวอร์เมคติน (Ivermectin) เป็นยาชนิดรับประทาน ใช้รักษาผู้ที่ติดเชื้อปรสิต พยาธิ
สำหรับผู้ที่มีอาการโลนบริเวณขนตา คิ้ว อาจรักษาด้วยการใช้ปิโตรเลียมเจลทาในตอนกลางคืน และล้างออกในตอนเช้า การรักษานี้อาจต้องทำซ้ำและใช้ระยะเวลารักษาเป็นเวลาหลายสัปดาห์ หากใช้วิธีการรักษาไม่ถูกวิธีอาจทำให้เกิดการระคายเคืองตาได้ นอกจากนี้ควรเข้ารับการตรวจบริเวณที่มีขนเป็นประจำ เพราะโลนอาจเคลื่อนตัวออกจากบริเวณที่ทำการรักษาได้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย