backup og meta

breast lump คือ อะไร อาการ สาเหตุ และการรักษา

breast lump คือ อะไร อาการ สาเหตุ และการรักษา
breast lump คือ อะไร อาการ สาเหตุ และการรักษา

breast lump คือ เนื้องอกที่ไม่ใช่เนื้อร้าย มักไม่พัฒนาเป็นมะเร็งเต้านม และเนื้องอกบางชนิดอาจไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแค่ติดตามอาการทุก 6 เดือนหรือทุกปี โดยก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรงจะมีลักษณะเรียบกลมหรือเป็นรูปไข่มีขอบเขตชัดเจน เมื่อสัมผัสอาจกลิ้งไปมาได้ ส่วนใหญ่อาจพบเพียงก้อนเดียว แต่ในบางรายก็อาจพบได้หลายก้อน

คำจำกัดความ

breast lump คือ อะไร

breast lump คือ ก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรงหรือเนื้องอกในเต้านมชนิดปกติ และอาจเป๋นเนื้องอกที่ไม่ใช่เนื้อร้าย มักไม่พัฒนาเป็นมะเร็งเต้านม และเนื้องอกบางชนิดอาจไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแค่ติดตามอาการทุก 6 เดือนหรือทุกปี โดยก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรงจะมีลักษณะเรียบกลมหรือเป็นรูปไข่มีขอบเขตชัดเจน เมื่อสัมผัสอาจกลิ้งไปมาได้ ส่วนใหญ่อาจพบเพียงก้อนเดียว แต่ในบางรายก็อาจพบได้หลายก้อน

โดยประเภทของก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรง อาจมีดังนี้

  • ไฟโบรซีสติก (Fibrocystic breast) คือ กลุ่มเนื้อเยื่อที่มารวมตัวกันเป็นก้อน หรือมีลักษณะคล้ายกับเชือก คุณหมอจะเรียกว่า เป็นก้อนเนื้อเยื่อที่เต้านมนอดูล่า (nodular) หรือแกลนดูล่า (glandular)
  • ซีสต์ที่เต้านม (Breast Cyst) คือ ถุงน้ำที่เกิดขึ้นในเต้านม ซีสต์ที่เต้านมนี้อาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่
  • ไฟโบรอะดีโนมา (Fibroadenoma) คือ เนื้องอกชนิดที่ไม่ใช่มะเร็งที่เกิดขึ้นในเต้านม มักพบได้ในผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 30 ปี เนื้องอกนี้ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อเต้านมสโตรมัล (Stromal) หรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective Tissue) ก้อนเนื้อชนิดไฟโบรอะดีโนมาสามารถเกิดขึ้นได้ที่เต้านมทั้งหนึ่งหรือสองข้าง
  • เนื้องอกไม่ร้ายในท่อน้ำนม (Intraductal Papillomas) คือ ก้อนเล็ก ๆ คล้ายหูดที่โตในด้านในท่อน้ำนมใกล้กับหัวนม มักพบในผู้หญิงที่อายุ 45-50 ปี ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเลือดออกที่หัวนม

ก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรง พบได้บ่อยแค่ไหน

ก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรงนั้นเป็นโรคที่พบได้ทั่วไป โดยมักพบในผู้หญิงที่อายุ 45-50 ปี โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของ breast lump

สำหรับอาการทั่วไปของอาการของก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรง อาจมีดังนี้

  • มีก้อนเนื้อในเต้านม
  • อาจรู้สึกไม่สบาย เช่น รู้สึกหนัก มีอาการกดเจ็บ ปวดแสบปวดร้อน
  • ก้อนในเต้านมหรือบริเวณผิวหนาขึ้น ซึ่งมักจะกลมกลืนไปกับเนื้อเยื่อรอบเต้านม
  • ปวดเต้านม และอาจรู้สึกเจ็บเมื่อกด
  • ก้อนในเต้านมที่มีขนาดขึ้น ๆ ลง ๆ ตามการมีประจำเดือน
  • สารคัดหลั่งผิดปกติจากหัวนม (Nipple Discharge) เป็นสีเขียวหรือสีคล้ำ มีเลือดหลั่งออกมา โดยไม่ต้องกดหรือบีบ
  • มีการเปลี่ยนแปลงที่เต้านมคล้ายกันทั้ง 2 ข้าง
  • ปวดเต้านมที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือน หรือมีก้อนตามรอบการตกไข่ (Ovulation) ก่อนมีประจำเดือน
  • มีก้อนแข็ง กลม คล้ายยางที่เคลื่อนที่ได้ในเต้านม

สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ

ควรพบคุณหมอเมื่อใด

หากสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่บริเวณเต้านม ควรไปพบคุณหมอทันทีเพื่อทำการตรวจวินิจฉัน และรับการรักษาอย่างเหมาะสม

สาเหตุ

สาเหตุของ breast lump

ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรง ประเภทฟโบรอะดีโนมา ซีสต์ที่เต้านม และเนื้องอกชนิดไม่ใช่เนื้อร้ายในท่อน้ำนม อย่างไรก็ตาม การเกิดก้อนเนื้อประเภทไฟโบรซีสติค อาจมีสาเหตุมาจากการถูกกระตุ้นจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของ breast lump

โปรดปรึกษากับคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย breast lump

คุณหมอจะให้นั่งหรือนอนราบลง และตรวจเต้านมเพื่อหาลักษณะที่ผิดปกติ เช่น หัวนมที่บุ๋มเข้าไปด้านใน หัวนมบอด มีก้อนเนื้อบริเวณเต้านม นอกจากนี้ คุณหมอยังอาจตรวจหารอยบุ๋ม ผิวที่หนาขึ้น รอยปื้นแดง หรือผิวรอบหน้าอกที่ตึงขึ้น รวมถึงบีบหัวนมเพื่อดูว่ามีสารคัดหลั่งหรือไม่ และตรวจที่รักแร้เพื่อดูว่าต่อมน้ำเหลืองโตหรือไม่

คุณหมออาจตรวจเต้านมและรักแร้ โดยให้เปลี่ยนท่าไปมา เช่น นั่ง กดมือทั้ง 2 ข้างที่บริเวณหน้าผาก ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อทรวงอกหดเกร็ง และอาจมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เต้านมได้ชัดขึ้น

คุณหมออาจให้คุณทบทวนเทคนิคการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง ขณะที่กำลังตรวจ โดยเทคนิคการตรวจเต้านมด้วยตนเองและที่แพทย์ตรวจให้นั้นคล้าย ๆ กัน ดังนี้

การตรวจด้วยการถ่ายภาพ

  • ตรวจหาความผิดปกติของเต้านม ก่อนที่จะเป็นที่สังเกต เรียกว่า การสแกนหามะเร็งเต้านม
  • ประเมินค่าความผิดปกติที่บ่งชี้ได้แล้ว เช่น ก้อนในเต้านม ที่พบขณะที่คุณหมอกำลังตรวจร่างกาย

การตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม (Mammography)

เป็นการการเอ็กซเรย์ที่เต้านมทั้ง 2 ข้างเพื่อหาความผิดปกติ โดยใช้การฉายรังสีในปริมาณน้อย ความผิดปกติที่ตรวจได้ด้วยเครื่องแมมโมแกรม ราว 10%-15% เป็นผลมาจากโรคมะเร็ง

นอกจากนี้ การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรมในผู้หญิงสูงอายุมักจะถูกต้องกว่า เนื่องจากเมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้นปริมาณของเนื้อเยื่อไขมันจะเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้แยกเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ออกจากเนื้อเยื่อไขมันได้ง่ายกว่าเนื้อเยื่อในเต้านมแบบอื่น

การทำอัลตร้าซาวด์

การทำอัลตร้าซาวด์อาจช่วยให้ข้อมูลความผิดปกติได้มากกว่าการตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม เช่น อัลตราซานด์สามารถบอกได้ว่าก้อนเนื้อเป็นก้อนแข็งหรือว่ามีของเหลว โดยก้อนเนื้อเป็นก้อนแข็ง หรือซีสต์มักไม่ค่อยกลายเป็นมะเร็ง การทำอัลตราซาวด์ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณหมอนำเข็มเข้าไปเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อที่ผิดปกติได้ด้วย

การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (MRI)

สามารถทำพร้อม ๆ กับการตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม เพื่อสแกนหาความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เช่น หากมีการกลายพันธ์ุของยีนส์สำหรับมะเร็งเต้านม (BRCA Gene) หลังจากการวินิจฉัยโรคมะเร้งเต้านม มักใช้การสแกนเอ็มอาร์ไอเพื่อระบุต่อมน้ำเหลืองที่ผิดปกติและบ่งชี้ขนาดและปริมาณของเนื้องอก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจช่วยให้คุณหมอวางแผนในการผ่าตัดหรือรักษาได้

การรักษา breast lump

  • ก้อนเนื้อในเต้านมประเภทไฟโบรซีสติคไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่คุณหมออาจแนะนำวิธีการบรรเทาอาการเมื่อกดเจ็บในแต่ละเดือน
  • ซีสต์ธรรมดาอาจรักษาได้ด้วยการเจาะดูดเซลล์ (Fine Needle Aspiration) โดยคุณหมอจะใช้เข็มเล็ก ๆ ดูดเอาเซลล์บางส่วนออกมาจากก้อนเนื้อในเต้านม โดยไม่ต้องผ่าตัด ถ้าก้อนเนื้อนั้นเป็นซีสต์ ก็จะสามารถดูดเอาน้ำในก้อนเนื้อออกมา เพื่อทำให้ซีสต์ยุบตัวลง ซีสต์ยังอาจหายไปได้เองด้วย ดังนั้น คุณหมออาจจะใช้วิธีรอก่อนที่จะพยายามกำจัดมัน
  • ก้อนเนื้อในเต้านมประเภทไฟโบรอะดีโนมา และเนื้องอกชนิดไม่ใช่เนื้อร้ายในท่อน้ำนม อาจกำจัดได้ด้วยการผ่าตัด

การจะระบุว่าก้อนเนื้อที่พบเป็นก้อนเนื้อที่เกิดจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อไขมันหรือไม่นั้นถือเป็นเรื่องทำได้ยาก คุณหมออาจต้องตรวจชิ้นเนื้อที่ผิดปกติ โดยวิธีใช้เข็มเจาะเข้าที่เนื้อเยื่อ โดยส่วนใหญ่อาการนี้ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่หากก้อนเนื้อนี้สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน อาจรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออก

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองที่ช่วยจัดการกับก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลงต่อไปนี้ อาจช่วยให้รับมือกับก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรงได้

  • ใส่เสื้อชั้นในที่นุ่มและรองรับหน้าอกได้ดี เช่น สปอร์ตบรา
  • รับประทานยาแก้ปวด เช่น อะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen)
  • ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Breast Cysts. http://www.merckmanuals.com/home/women-s-health-issues/breast-disorders/breast-cysts. Accessed November 27, 2017.

Overview of Breast Disorders. http://www.merckmanuals.com/home/women-s-health-issues/breast-disorders/overview-of-breast-disorders. Accessed November 27, 2017.

Fibroadenomas of the Breast. http://www.merckmanuals.com/home/women-s-health-issues/breast-disorders/fibroadenomas-of-the-breast. Accessed November 27, 2017.

Fibrocystic Changes of the Breast. http://www.merckmanuals.com/home/women-s-health-issues/breast-disorders/fibrocystic-changes-of-the-breast. Accessed November 27, 2017.

Fibrocystic breasts. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fibrocystic-breasts/symptoms-causes/syc-20350438. Accessed November 27, 2017.

Benign Breast Lumps. https://www.webmd.com/breast-cancer/benign-breast-lumps#1. Accessed November 27, 2017.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/09/2022

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยารักษาความดันโลหิตสูง ทำให้เป็นมะเร็งเต้านมได้จริงหรือ?

ไลฟ์สไตล์อันตรายที่อาจนำไปสู่ โรคมะเร็งเต้านม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 16/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา