backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

Dermoid Cyst คืออะไร มีสาเหตุและการรักษาอย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 06/03/2023

Dermoid Cyst คืออะไร มีสาเหตุและการรักษาอย่างไร

Dermoid Cyst คือ หนึ่งในประเภทของโรคซีสต์ถุงน้ำในรังไข่ที่เรียกว่า ซีสต์เดอร์มอยด์ ที่สามารถเกิดขึ้นภายในรังไข่ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง และอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของรังไข่ โดยสังเกตได้จากอาการปวดอุ้งเชิงกราน ขับถ่ายลำบาก ประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นต้น หากไม่ทำการรักษาก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้ เช่น เลือดออกในอุ้งเชิงกรานและซีสต์ในรังไข่แตก

Dermoid Cyst คือ

Dermoid Cyst คือ ก้อนซีสต์ที่ภายในประกอบด้วยไขมัน เนื้อเยื่อ ฟัน กระดูก เส้นประสาทและเส้นขน มักพบได้บ่อยในรังไข่ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง อย่างไรก็ตามซีสต์เดอร์มอยด์พบได้บริเวณศีรษะ ต้นคอ ขอบตา กระดูกสันหลัง สมองและจมูก ซึ่งมีสาเหตุมากจาการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อผิดปกติ โดยอาจมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างเป็นตัวกระตุ้น ดังนี้

  • การใช้ยาช่วยให้เกิดการตกไข่ เช่น โคลมีฟีน (Clomiphene) เลโทรโซล (Letrozole) ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดซีสต์เดอร์มอยด์ในรังไข่
  • การตั้งครรภ์ หากภายในรังไข่มีไข่ตกค้างอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ ก็อาจพัฒนาไปสู่ซีสต์เดอร์มอยด์
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เพราะเยื่อบุโพรงมดลูกบางส่วนอาจเกาะติดกับรังไข่และพัฒนากลายเป็นซีสต์เดอร์มอยด์
  • การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เพราะอาจทำให้แพร่กระจายไปยังรังไข่จนนำไปสู่การเกิดซีสต์เดอร์มอยด์

อาการของ Dermoid Cyst คืออะไร

อาการของซีสต์เดอร์มอยด์ อาจสังเกตได้ดังนี้

  • รู้สึกมีแรงกดทับภายในท้อง
  • ปวดอุ้งเชิงกรานแบบเป็น ๆ หาย ๆ
  • ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน
  • ท้องอืด
  • นอกจากนี้ หากมีอาการรุนแรง เช่น ปวดอุ้งเชิงกรานอย่างรุนแรง มีไข้สูง อาเจียน ผิวหนังเย็น หายใจเร็ว หน้ามืด และอ่อนแรง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างรวดเร็ว ช่วยลดความเสี่ยงเป็นภาวะแทรกซ้อน เช่น การบิดตัวของรังไข่ การแตกตัวของซีสต์ที่ก่อให้เกิดการแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น

    การรักษา Dermoid Cyst 

    การรักษาซีสต์เดอร์มอยด์อาจพิจารณาจากขนาดของซีสต์และภาวะสุขภาพเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม โดยคุณหมออาจรักษาซีสต์ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

    • ยาคุมกำเนิด อาจช่วยยับยั้งการตกไข่เพื่อไม่ให้เกิดซีสต์ในรังไข่เพิ่มขึ้น แต่จะไม่ทำให้ซีสต์ที่เป็นอยู่หดตัวลง ซึ่งอาจรับการรักษาร่วมกับการผ่าตัด
    • การผ่าตัด เพื่อกำจัดซีสต์ในรังไข่ออก ซึ่งจะมีการผ่าตัด 2 รูปแบบคือ ผ่าตัดแบบกำจัดเพียงซีสต์ หรือผ่าตัดรังไข่ออกทั้งหมด โดยคุณหมออาจใช้เทคนิคการผ่าตัดแบบส่องกล้องด้วยการกรีดผิวหนังบริเวณท้องน้อยและสอดกล้องขนาดเล็กเข้าไปพร้อมกับอุปกรณ์ผ่าตัดซึ่งอาจเหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีซีสต์ในรังไข่ขนาดเล็ก แต่สำหรับผู้หญิงที่มีซีสต์เดอร์มอยด์ในรังไข่ขนาดใหญ่อาจจำเป็นต้องกรีดแผลบริเวณหน้าท้องให้ใหญ่ขึ้นเพื่อง่ายต่อการผ่าตัด 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 06/03/2023

    ad iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    ad iconโฆษณา
    ad iconโฆษณา