นอกจากนี้ ไฝยังเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ไม่ว่าตามใบหน้า หนังศีรษะลำตัว แขน รักแร้ ขา หรือนิ้วมือและนิ้วเท้า แตกต่างจากกระซึ่งมักจะเกิดขึ้นบริเวณที่โดนแสงแดดมากกว่าบริเวณอื่น ๆ
แม้กระและไฝจะไม่เป็นอันตราย แต่ลักษณะของกระและไฝ อาจคล้ายคลึงกับอาการของผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma) อันเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดอันตราย ควรสังเกตลักษณะของกระและไฝว่าผิดปกติหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อพบกระหรือไฝลักษณะดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบคุณหมอ
- มีรูปร่างไม่ชัดเจน ลักษณะไม่เป็นวงกลมหรือวงรี
- เกิดขึ้นพร้อมกันหลายจุดและมีหลายสี
- บางครั้งมีเลือดออก ทำให้คันหรือเจ็บปวด
- มีการเปลี่ยนแปลงของสี ขนาด หรือรูปร่าง อย่างชัดเจน
การรักษากระ ทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง
โดยปกติ กระมักไม่เป็นอันตรายจึงไม่จำเป็นต้องต้องรักษา และอาจหายไปหรือจางลงเมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ตาม หากไม่พอใจกับกระที่ขึ้นอยู่ตามผิวหนังบนร่างกาย อาจเลือกกำจัดกระด้วยวิธีการต่อไปนี้
- ทาครีม ซึ่งมีส่วนผสมของสารเรตินอล (Retinol) อันเป็นอนุพันธ์ของวิตามินเอ โดยเรตินอล จะช่วยให้กระดูจางลง เหมาะกับผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายหรือผิวหนังอ่อนไหวต่อสารเคมี
- ใช้เลเซอร์ ฉายไปยังบริเวณที่เป็นกระ เพื่อทำลายเซลล์เม็ดสีของกระซึ่งมักเข้มกว่าผิวหนังส่วนอื่น ๆ
- การลอกผิว หรือการทาสารเคมีลงบนใบหน้า หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เพื่อลอกผิวหนังออก และทำให้เกิดการสร้างผิวหนังใหม่ ซึ่งจะเห็นรอยด่างหรือกระที่จางลง ทั้งนี้ การลอกผิวอาจต้องทำซ้ำทุก ๆ 2-5 สัปดาห์ เพื่อให้เห็นผลชัดเจน
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย