backup og meta

ภาวะผมร่วง ที่เกิดจากการอดนอนและนอนดึก

ภาวะผมร่วง ที่เกิดจากการอดนอนและนอนดึก

ภาวะผมร่วง เป็นปัญหาสุขภาพของหนังศีรษะที่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น  การใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมที่ไม่ถูกกับสุขภาพหนังศีรษะ นอกจากนี้ พฤติกรรมบางอย่างก็อาจทำให้เกิดภาวะผมร่วงได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นอดนอน นอนดึก หรือนอนน้อย ดังนั้น การปรับพฤติกรรมในเรื่องของการนอนหลับ จึงอาจทำให้ภาวะผมร่วงดีขึ้น

ภาวะผมร่วง อาจเกิดจากการอดนอน

ภาวะผมร่วง อาจเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย ม่ว่าจะเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมที่ไม่ถูกกับสุขภาพหนังศีรษะ รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ เช่น อดนอน นอนดึก นอนน้อย ซึ่งสาเหตุที่ความสัมพันธ์ทั้ง 2 นี้เชื่อมโยงกันอาจเป็นไปได้ว่า การอดหลับ อดนอน ส่งผลให้ระดับความเครียดเพิ่มขึ้น จนทำให้เข้าไปขวางการทำงาน หรือลดระดับฮอร์โมนการเจริญเติบโตในร่างกายของมนุษย์ (Human Growth Hormone หรือ HGH) จึงอาจส่งผลให้มีอาการทางสุขภาพ และอาการผมขาดหลุดร่วงตามมา

นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจาก ระหว่างที่ร่างกายกำลังปล่อยฮอร์โมนสื่อประสาทและไซโตไคน์ (Cytokine) เข้ามาปรับปรุงความเครียด อาจทำให้ฮอร์โมนทางด้านการเจริญเติบโตตามแนวรูขุมขนทั้งหลาย รวมถึงเส้นผมได้รับผลกระทบจนอาจนำไปสู่อาการผมร่วงได้ในที่สุด

วิธีเลิกอดนอน นอนดึก นอนน้อยเพื่อป้องกันภาวะผมร่วง

แน่นอนว่าการปรับพฤติกรรมตัวเองให้เลิกนอนดึกหรืออดนอนอาจเป็นเรื่องที่ยาก แต่อย่างไรตาม การปรับพฤติกรรมการอดนอน นอนดึก นอนน้อย อาจฝึกได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เหล่านี้

  • ฝึกหายใจเข้า-ออกลึก ๆ ประมาณ 5-30 นาทีก่อนเข้านอน
  • ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันอย่างน้อย 30 นาที
  • หยุดเล่นคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์ประมาณ 2 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน ซึ่งอาจหันมาเปลี่ยนเป็นการอ่านหนังสือ เปิดเพลงฟังสบาย ๆ แทน
  • ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่ประกอบด้วยคาเฟอีนในวันที่ต้องการพักผ่อนอย่างเต็มที่หลังจากทำกิจกรรมต่าง ๆ มา
  • อาจดื่มชาคาโมมายล์ ก่อนเข้านอนประมาณ 45 นาที ซึ่งอาจทำให้รู้สึกความผ่อนคลายและลดความเครียดได้
  • หากไม่มีธุระด่วน หรือไม่มีอะไรที่ต้องทำในช่วงเวลากลางคืน ควรนอนให้ตรงเวลาและควรนอนให้ได้อย่างน้อยประมาณ 8 ชั่วโมง เป็นประจำทุกวัน
  • ระบายความเครียด หรือเรื่องในใจที่ประสบมาลงในสมุดหรือไดอารี่เล่ม ซึ่งอาจช่วยระบายความเครียดและอาจช่วยให้ผ่อนคลายได้
  • เมื่อถึงเวลาเข้านอน ควรปิดไฟ ปิดม่าน ปิดเสียงรบกวนต่าง ๆ  หรืออาจสวมอุปกรณ์ที่เป็นตัวช่วยเสริม เช่น ผ้าปิดตา ที่อุดหู

วิธีการรักษาภาวะผมร่วง

เมื่อเกิดภาวะผมร่วงจนเกินเยียวยา ควรเข้ารับการวินิจฉัยอย่างละเอียดและรักษาโดยคุณหมอทันที เพราะบางครั้งภาวะผมร่วงอาจเกิดจากโรคประจำตัวอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แล้วเทคนิคที่อาจทำให้ผมกลับมาดกดำได้อาจเป็นการผ่าตัดปลูกผม

เนื่องจาก การผ่าตัดปลูกผมอาจใช้แก้ไขได้ในภาวะที่ผมขาดหลุดร่วงแบบถาวร ผมร่วงบางส่วน และศีรษะล้านบางส่วน โดยผู้เชี่ยวชาญจะทำการนำรากของเส้นผมส่วนที่เยอะที่สุดบนหนังศีรษะ เจาะผิวหนังส่วนที่ประสบกับปัญหาด้วยอุปกรณ์เฉพาะ เพื่อเป็นการนำรากผมเข้าไปแทนที่

อย่างไรก็ตาม ควรมีการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึงวิธีอื่น ๆ ร่วมด้วย เพราะสาเหตุที่ทำให้อดนอน นอนดึก และนอนไม่หลับอาจเกิดจากหลายปัจจัย จึงทำให้คุณหมออาจใช้เทคนิคในการรักษาเบื้องต้นตามอาการที่เกิดขึ้น ในกรณีที่ไม่รุนแรงมาก คุณหมออาจให้ยารักษาที่มีส่วนประกอบของไมน็อกซิดิล (Minoxidil) ฟีเนสเตอร์ไรด์ (Finasteride) และติดตามอาการหนังศีรษะจนกว่าหนังศีรษะจะกลับมามีสุขภาพดี

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Can Lack Of Sleep Cause Hair Loss? https://www.hairguard.com/lack-of-sleep/ Accessed September 18, 2020

Can Sleep Deprivation Cause Hair Loss? https://www.sleephelp.org/sleep-deprivation-hair-loss/ Accessed September 18, 2020

Can Lack of Sleep Cause Hair Loss? https://www.alaskasleep.com/blog/can-lack-of-sleep-cause-hair-loss Accessed September 18, 2020

Hair loss https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hair-loss/diagnosis-treatment/drc-20372932 Accessed September 18, 2020

HAIR LOSS: WHO GETS AND CAUSES. https://www.aad.org/public/diseases/hair-loss/causes/18-causes. Accessed April 15, 2022

Hair loss. https://www.nhs.uk/conditions/hair-loss/. Accessed April 15, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/04/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

จัดการอย่างไรกับอาการ นอนไม่หลับเพราะสมองไม่ยอมหยุดนิ่ง

เด็กผมร่วง เกิดจากอะไร และวิธีรับมือที่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 15/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา