นอกจากนี้ ผิวหนังลอกอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้
- แดดเผา ผิวหนังชั้นกำพร้าอาจถูกทำลายได้หากร่างกายได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์เป็นเวลานาน จนเกิดอาการหลุดลอกออกมา ไม่ควรแกะหรือเกา ควรใช้วิธีอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายตามปกติ และทาผิวด้วยว่านหางจระเข้เพื่อสมานผิว ประคบด้วยน้ำเย็น ดื่มน้ำมาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปเผชิญแสงแดด หากจำเป็นควรสวมเสื้อผ้าปกปิดบริเวณผิวที่โดนแดดเผา
- ความร้อน หากผิวหนังสัมผัสวัตถุหรือของเหลวอุณหภูมิสูง เช่น ในกรณีจับภาชนะใส่อาหารที่ร้อน หรืออาบน้ำร้อน ผิวอาจพองก่อนแล้วหลังจากนั้นผิวหนังจะหลุดลอกออกเป็นแผ่น และอาจรู้สึกเจ็บปวด
- สารเคมี โดยเฉพาะหากผิวหนังสัมผัสโดนสารเคมีซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด จะทำให้ผิวหนังแสบร้อนได้ ต่อมาอาจลอกเป็นขุยหรือแผ่น โดยปกติหากจำเป็นต้องสัมผัสสารเคมีไม่ว่าชนิดใดก็ตาม เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ ผสมปูน ควรสวมถุงมือหนา ๆ และล้างทำความสะอาดมือหลังเลิกใช้งาน
- ผิวแห้ง มักทำให้ผิวหนัง ลอก แดง เป็นขุย เกิดจากผิวขาดความชุ่มชื้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ซึ่งป้องกันได้ด้วยการดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร อาบน้ำอุณหภูมิปกติ ไม่ควรอาบน้ำร้อนจนเกินไปเพราะจะทำให้ผิวแห้งมากขึ้น เลือกใช้สบู่ที่อ่อนโยนต่อผิว และทาครีมบำรุงผิวสม่ำเสมอ
- การรักษาโรคมะเร็ง ผิวหนังลอกเป็นผลข้างเคียงที่อาจเกิดได้จากการฉายรังสีหรือทำเคมีบำบัด ซึ่งอาจเลือกดูแลผิวด้วยการทาครีมบำรุง ดื่มน้ำมาก ๆ หลีกเลี่ยงการเกาและแกะผิว รวมทั้งทาครีมกันแดดเมื่อต้องออกนอกบ้าน
เมื่อไรควรไปพบคุณหมอ
โดยปกติแล้ว ผิวหนังลอกในชีวิตประจำวันนั้น ไม่เป็นอันตราย เพราะอาจเกิดจากการที่ผิวแห้งเนื่องจากการล้างจานบ่อย หรือล้างมือบ่อย รวมทั้งร่างกายขาดน้ำ หรือโดนแสงแดด บางครั้งอาจเกิดร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ผิวหนังแดง คัน ระคายเคือง ผิวแห้งสาก
อย่างไรก็ตาม หากผิวหนังลอกเป็นอาการของโรค หรือรุนแรงจนทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือคันผิดปกติ รวมทั้งมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยควรรีบไปพบคุณหมอ เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณของโรคผิวหนังที่ร้ายแรง ได้แก่
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย