วิธีรักษา
ผื่นกุหลาบสามารถรักษาได้ด้วยยาที่คุณหมอแนะนำดังนี้
- ยาแก้แพ้ เช่น ไฮดรอกไซซีน (Hydroxyzine) คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) เพื่อบรรเทาอาการคัน แต่อาจทำให้ง่วงซึมได้หลังรับประทาน
- ยาต้านไวรัส เช่น อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir)
- ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ เช่น เบต้าเมทาโซน (Betamethasone) บรรเทาอาการบวมและคัน
หากอาการผื่นกุหลาบไม่ดีขึ้น คุณหมออาจแนะนำให้บำบัดด้วยแสงเพื่อช่วยบรรเทาอาการคัน และทำให้รอยผื่นจางลง นอกจากนั้น ยังอาจรักษาด้วยแสงแดดจากธรรมชาติ แต่ไม่ควรตากแดดนานจนเกินไป เพราะอาจทำให้สุขภาพผิวเสียได้
วิธีป้องกัน
อาจไม่มีวิธีป้องกันผื่นกุหลาบ แต่สามารถบรรเทาอาการคันที่อาจส่งผลให้ผิวหนังอักเสบจากการเกา ดังนี้
- ทายา หรือรับประทานยาที่คุณหมอกำหนด หากผื่นหรืออาการคันแย่ลง ควรแจ้งให้คุณหมอทราบเพื่อเปลี่ยนชนิดยา
- อาบน้ำด้วยน้ำอุ่น หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบอ่อนโยนจากธรรมชาติ เช่น ข้าวโอ๊ต
- เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวด้วยการทามอยส์เจอไรเซอร์ คาลาไมน์
4. ไลเคนพลานัส (Lichen Planus)
ไลเคนพลานัสเกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันในร่างกายเข้าไปทำลายเซลล์ เนื้อเยื่อของผิวหนัง ที่ถูกกระตุ้นโดนยาบางชนิดที่ใช้สำหรับรักษาโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคข้ออักเสบ ยาแก้ปวด สารเคมี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และการติดเชื้อไวรัส เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพรอกเซน (Naproxen) อาการของไลเคสพลานัสอาจสังเกตได้จากตุ่มสีม่วง อาการคัน ผื่นขึ้นตามลำตัว หนังศีรษะ ข้อพับแขน ข้อมือ ข้อเท้า ตุ่มในช่องปาก และบริเวณอวัยวะเพศ
วิธีรักษา
ปกติแล้วไลเคนพลานัสสามารถหายไปได้เอง แต่อาจใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปี แต่หากมีอาการคัน ระคายเคือง อาการปวดที่ทำให้รู้สึกส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาจเข้ารับการรักษาจากคุณหมอ เพื่อให้คุณหมอวินิจฉัยและจ่ายยาตามความเหมาะสม ดังนี้
- ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ ในรูปแบบครีมที่ทาผิวหนังและรักษาในช่องปาก เพื่อบรรเทาอาการคันรุนแรง เช่น เพรดนิโซโลน (Prednisolone)
- ยาป้องกันการติดเชื้อในช่องปาก เช่น เอซาไธโอพรีน (Azathioprine) มัยโคฟีโนเลต (Mycophenolate)
- ยาแก้แพ้ เช่น ยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) บรรเทาอาการคันจากผื่นไลเคนพลานัส
นอกจากนี้ คุณหมอผิวหนังอาจบำบัดด้วยรังสียูวีบี (UVB) ประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือนานหลายสัปดาห์ แต่การรักษาด้วยวิธีนี้อาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวสีเข้ม เพราะอาจทำให้ผิวคล้ำขึ้นกว่าเดิม กรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยแสงบำบัด คุณหมออาจปรับเปลี่ยนมารักษาด้วยการให้รับประทานยาเรตินอยด์ เช่น อาซิเทรติน (Acitretin)
วิธีป้องกัน
อาจไม่มีวิธีป้องกันไลเคนพลานัส แต่สามารถบรรเทาอาการคันและลดผื่นได้ ด้วย
- การหลีกเลี่ยงการเการุนแรง
- ใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มให้ความอ่อนโยนและความชุ่มชื้นแก่ผิว
- ทายาบริเวณที่ได้รับผลกระทบตามที่คุณหมอแนะนำสม่ำเสมอ
สำหรับผู้ที่เป็นไลเคนพลานัสในช่องปาก ควรงดสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการรับประทานอาหารที่มีรสชาติเผ็ด เปรี้ยว เพื่อป้องกันการเจ็บปวดแผลในช่องปาก
5. ผื่นแพ้ยา
เป็นอาการแพ้ที่เกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายต่อต้านสารแปลกปลอมจากยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาขับปัสสาวะ แอสไพริน (Aspirin) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพนิซิลลิน (Penicillin) เคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็งจนก่อให้เกิดผื่นขึ้นตามตัว อาการคัน ผื่นแดง อาเจียน วิงเวียนศีรษะ คันตา น้ำตาไหล
การแพ้ยาถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
- ผื่นที่เกิดขึ้นจากอาการแพ้ยา
- ผื่นที่เป็นผลข้างเคียงจากยา
- ผื่นแพ้ยาที่อาจปรากฏเมื่อผิวถูกแสงแดด
ผื่นแพ้ยาอาจส่งผลรุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจและอวัยวะส่วนอื่น ๆ ได้ ซึ่งหากมีอาการผิดปกติขึ้นหลังจากรับประทานยา ควรเข้าขอรับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อความปลอดภัย
วิธีรักษา
หากอาการไม่รุนแรงคุณหมออาจให้ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamines) เพื่อกดภูมิคุ้มกันไม่ให้ปล่อยสารฮีสตามีนออกมาทำปฏิกิริยากับสิ่งแปลกปลอม หรืออาจให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในรูปแบบรับประทานหรือฉีดผ่านช่องปาก
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย