ผิวหนังแสบหรือบวมเมื่อรับการตรวจร่างกายแบบเอ็มอาร์ไอ
หากต้องตรวจโรคแบบเอ็มอาร์ไอ (Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ผู้ที่มีลายสักบางรายอาจมีอาการแสบ บวม แดง ของผิวหนังบริเวณลายสัก สาเหตุอาจเกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างเม็ดสีและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าขณะตรวจโรคแบบเอ็มอาร์ไอ
นอกจากนี้ ผิวหนังที่มีลายสักอาจดูดซับพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้มากกว่าปกติทำให้ผิวหนัเสี่ยงเกิดอาการไหม้หรือแสบร้อนได้ ควรแจ้งคุณหมอก่อนเข้ารับการตรวจโรคด้วยวิธีเอ็มอาร์ไอ
-
ต่อมน้ำเหลืองบวม
ในกระบวนการสักลาย โดยเฉพาะการสักแบบถาวร หมึกจะดูดซึมลงสู่ชั้นผิวหนังแท้และเนื้อเยื่อซึ่งอาจแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองใกล้ ๆ ผิวหนังบริเวณที่สักลายและเป็นสาเหตุให้ต่อมน้ำเหลืองบวมได้ ทั้งนี้ ต่อมน้ำเหลืองส่วนมากมักอยู่บริเวณลำคอ รักแร้ และขาหนีบ
อย่างไรก็ตาม หากหลังจากสักลายแล้วมีอาการต่อมน้ำเหลืองบวม ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อสาเหตุที่แท้จริง เพราะต่อมน้ำเหลืองอาจบวมได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ ไข้หวัด ทอนซิลอักเสบ
การป้องกันอันตรายและผลข้างเคียงที่อาจเกิดจาก ลายสัก
วิธีป้องกันอันตรายและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับผิวหนังหลังจากเข้ารับการสักลาย สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
- หาข้อมูลของร้านหลาย ๆ ร้านก่อนเข้ารับบริการ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ และเปรียบเทียบมาตรฐาน ความสะอาด ประสบการณ์ โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์ของช่างสัก ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพผิวหนังและด้านอื่น ๆ โดยรวม
- สอบถามและขอตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ รวมทั้งชนิดน้ำหมึก เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์แต่ละชิ้นได้มาตรฐาน สะอาดปลอดภัย ผ่านการฆ่าเชื้อ หรือเป็นของใหม่ที่เปลี่ยนใช้แบบครั้งต่อครั้ง
- เลือกลายสักที่พึงพอใจมากที่สุด เพราะหากต้องการลบลายสักหรือเปลี่ยนลายสัก อาจทำให้ผิวหนังเสียหาย หรืออาจเสี่ยงติดเชื้อจากบาดแผลเปิดเมื่อลบลายสักได้
- ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ ก่อนสัมผัสลายสักที่เพิ่งสักมาใหม่ ๆ
- หลีกเลี่ยงการเกาบริเวณลายสัก ขณะผิวหนังกำลังฟื้นตัว เพราะการเกาอาจทำให้ลายสักติดเชื้อได้
- แจ้งคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้ารับการตรวจแบบเอ็มอาร์ไอ เมื่อต้องตรวจโรค เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนขณะตรวจโรคที่อาจเกิดขึ้น แม้ความเป็นไปได้ในการเกิดจะค่อนข้างต่ำก็ตาม
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย