backup og meta

รอยแตกลายที่ขา สาเหตุ และวิธีการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/05/2022

    รอยแตกลายที่ขา สาเหตุ และวิธีการรักษา

    รอยแตกลายที่ขา อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการขยายออกอย่างรวดเร็วของผิวหนัง เช่น การมีน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว การตั้งครรภ์ ส่งผลให้เกิดรอยแยกและรอยของผิวหนัง รอยแตกลายที่ขาอาจบรรเทาได้ด้วยการดูแลผิวหนังอย่างเหมาะสมด้วยมอยส์เจอไรเซอร์ โลชั่น รวมไปถึงสมุนไพรบางชนิดที่ช่วยบำรุงผิวหนัง

    รอยแตกลายที่ขา เกิดขึ้นได้อย่างไร?

    รอยแตกลาย (stretch marks) สามารถเกิดขึ้นได้ตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่จะพบบ่อยที่สุดคือ บริเวณหน้าท้อง หน้าอก สะโพก บั้นท้าย รวมถึงบริเวณของขาด้วยเช่นกัน

    สาเหตุหลักของ การเกิดรอยแตกลาย คือ การที่ผิวหนังถูกยืดออกอย่างกะทันหัน จึงทำให้เกิดรอยแยกเป็นเส้นยาว และมีสีผิวตามร่องรอยที่เปลี่ยนไป บางรายอาจมี สีแดง สีม่วง สีน้ำตาลเข้ม ตามแต่เซลล์ผิวของแต่ละบุคคล

    ส่วนมากผู้ที่จะมีรอยแตกลายนี้เกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมีความเกี่ยวข้องกับโรคอ้วน ที่อาจเกิดจากการสะสมไขมันจนทำให้ผิวหนังชั้นนอกเกิดนูนขึ้น จนนำไปสู่รอยแตกลายนี้

    ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดรอยแตกที่ลายขา

    นอกจากข้างต้นแล้ว สตรีที่กำลังอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ 90% มักมีรอยแตกรอยบริเวณหน้าท้อง และขาอีกด้วย นั่นอาจเป็นเพราะทารกที่อยู่ในครรภ์มีการเจริญเติบโตตลอดเวลาจนทำให้หน้าท้องยื่นออกมามากขึ้น ในบางรายอาจมีอาการขาเท้า เท้าบวม จนเกิดเป็นรอยแตกขึ้นตามผิวหนัง ทำเอาช่วงนั้นคุณแม่ทั้งหลายควรได้รับการบำรุงอย่างมาก โดยอาจใช้เป็นโลชั่น มอยส์เจอไรเซอร์ หรือยา ตามที่แพทย์และเภสัชกรแนะนำ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์

    สมุนไพร รักษารอยแตกลาย

    การรักษารอยแตกลายที่ขาด้วยสมุนไพร

    • ว่านหางจระเข้

    คุณสมบัติที่ทุกคนคุ้นเคยถึงความชุ่มชื้นที่สามารถนำมาบำรุงได้ทั่วทั้งร่างกาย รวมทั้งการลดรอยแตกลายให้ดูจางลงด้วยเช่นกัน โดยการใช้เจลว่างหางนี้ ให้นำเมือกที่ผ่านการทำความสะอาดแล้วจากต้นสด ๆ มาทาบริเวณรอยแตกลายและทิ้งไว้ประมาณ 20-30 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด ซึ่งวิธีนี้สามารถทำได้ทุกวัน และหากว่าหาต้นว่านหางจระเข้สดไม่ได้ ให้หาซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของเจลว่านหางตามร้านขายยาที่ผ่านการแนะนำของเภสัชกรเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยต่อผิวหนัง

  • แตงกวาและน้ำมะนาว
  • เริ่มจากการนำสมุนไพรสองชนิดนี้มาผสมให้เข้ากัน และพอกทิ้งไว้ประมาร 10 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำอุ่นให้สะอาด ซึ่งกรดจากน้ำมะนาวจะช่วยลดรอยแผลเป็น หรือบรรเทาให้รอยแตกลายดูจางลงได้ เมื่อนำมาผสมกับแตงกวาเพิ่มเติม แตงกวาจะช่วยลดกรดจากมะนาวลงไม่เกิดการระคายเคือง หรือเจ็บแสบบริเวณผิวหนัง และยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิวรู้สึกเย็นสบายมากขึ้น

    จากการศึกษากับหนูทดลองที่ได้รับบาดแผลมานั้น พบว่า การใช้น้ำมันมะพร้าว ทำให้สภาพแผลของหนูทุเลาลง อีกทั้งยังลดรอยแผลเป็นให้ดูจางลงอีกด้วย ดังนั้นการใช้น้ำมันมะพร้าวนวดบริเวณรอยแตกลาย อาจทำให้ร่องรอยจางได้อย่างรวดเร็ว และปรับสีผิวที่เปลี่ยนไปให้ดูสม่ำเสมอกันเร็วขึ้น

  • น้ำมันละหุ่ง
  • น้ำมันละหุ่งได้จากสกัดน้ำมันจากเมล็ดละหุ่งที่มีส่วนช่วยให้ผิว หรือรอยแตกลายของเรานั้นเรียบเนียนขึ้น เพียงแค่นำน้ำมันละหุ่งทาบริเวณที่ต้องการ และนวดบริเวณนั้น ควรทำแบบนี้เป็นประจำทุกวัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีดั่งที่หวังไว้

    ข้อแนะนำในการใช้สมุนไพรในการรักษารอยแตกลาย

    การใช้สมุนไพรเป็นการนำวิธีรักษาแบบธรรมชาติมาทดแทนสารเคมีที่อาจเกิดผลข้างเคียงรุนแรงต่อผิวหนัง ถึงอย่างไรยังคงมีทางเลือกอื่น ๆ เช่น การทำเลเซอร์ ตามสถานที่เสริมความงาม ซึ่งอยู่กับความประสงค์ของผู้ใช้บริการ ดังนั้นไม่ว่าจะเลือกเทคนิคใด ควรหมั่นศึกษาอย่างละเอียดเสียก่อน หรืออาจปรึกษาแพทย์เฉพาะทางทางด้านผิวหนังโดยตรงก่อนตัดสินใจรักษารอยแตกลายนี้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/05/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา