backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

ช็อกโกแลต กินแล้วเป็นสิว จริงหรือ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา · โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 12/07/2023

ช็อกโกแลต กินแล้วเป็นสิว จริงหรือ

ช็อกโกแลต เป็นขนมที่เกิดจากการนำเอาเมล็ดโกโก้ เนยโกโก้ และส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น นม น้ำตาล ไขมัน มาผสมเข้าด้วยกัน มีความเชื่อว่า หากรับประทานช็อกโกแลตแล้วทำให้เกิดสิว แต่ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่า ช็อกโกแลตอาจทำให้เกิดสิว แต่อาจเป็นไปได้ว่า ปริมาณน้ำตาลและไขมันที่ผสมเข้าไปในช็อกโกแลต อาจเป็นตัวการทำให้เกิดสิว หรืออาจมีส่วนทำให้สิวที่เป็นอยู่มีอาการแย่ลง

ช็อกโกแลตกับสิวเกี่ยวข้องกันอย่างไร

ช็อกโกแลต เกิดจากการผสมกันของเมล็ดโกโก้ และเนยโกโก้ รวมทั้งส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น นม น้ำตาล ไขมัน ซึ่งเมื่อบริโภคช็อกโกแลตเข้าสู่ร่างกาย ปริมาณน้ำตาลที่ผสมเข้าไปในช็อกโกแลต อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิว เพราะมีงานวิจัยพบว่าน้ำตาลอาจมีโอกาสทำให้เกิดสิวได้ เนื่องจาก เมื่อบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่สูง ร่างกายอาจหลั่งอินซูลินในปริมาณที่มากขึ้น ส่งผลให้ผิวหนังแบ่งตัวเร็วขึ้น มีความหนามากขึ้น ส่งผลให้เกิดการอุดตันในรูขุมขน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวอุดตันนั่นเอง

การรับประทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง เช่น ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ขนมขบเคี้ยว อาหารขยะ ส่งผลให้เป็นสิวได้ง่าย ดยเฉพาะผู้ที่มีผิวมัน อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงอาจทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ร่างกายผลิตอินซูลินมากขึ้น สิ่งเหล่านี้อาจนำไปสูงการสร้างน้ำมันในผิวหนังมากขึ้นและเพิ่มการเจริญเติบโตของผิวหนังบริเวณรูขุมขน ซึ่งทำหน้าที่ดักจับไขมัน สิ่งนี้นำไปสู่การเป็นสิวชนิดต่าง ๆ นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานใดที่พิสูจน์ได้ว่า การรับประทานช็อกโกแลตอาจทำให้เกิดสิว ในบางราย การบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมและมีส่วนประกอบของน้ำตาล อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทั้งยังทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนเกิดอารอุดตันของรูขุมขน และป็นสิวในที่สุด ดังนั้น การเกิดสิวมีแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารในปริมาณที่ไม่สมดุลมากกว่าการรับประทานช็อกโกแลต

อาหารที่ก่อให้เกิดสิว

อาหารบางประเภทอื่นที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดสิวได้ง่าย มีดังนี้

  1. แป้งและน้ำตาลทราย เช่น เครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล ขนมปังแครกเกอร์ เส้นพาสต้า โดยเฉพาะผู้ที่บริโภคน้ำตาลมากกว่าปกติ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดสิวได้ถึง 30% และผู้ที่บริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเกินมาตรฐาน มีความเสี่ยงที่จะเกิดสิวขึ้นถึง 20%
  2. อาหารจานด่วน มักเต็มไปด้วยไขมัน และคาร์โบไฮเดรตที่มีปริมาณสูง ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดสิว
  3. เวย์โปรตีนผง อุดมไปด้วยกรดอมิโนลิวซีน (Leucine) และกลูตามีน (Glutamine) ที่อาจทำให้เซลล์ผิวเจริญเติบโตแบ่งตัวออกอย่างรวดเร็วจนนำไปสู่การเกิดสิวได้

การดูแลผิวหน้าป้องกันสิว

นอกเหนือจากการดูแลตนเองเรื่องอาหารแล้ว สามารถดูแลตนเองเพื่อป้องกันสิวบนใบหน้าได้ ดังนี้

  • ล้างหน้าด้วยน้ำอุณหภูมิปกติ
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าอ่อน ๆ
  • ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว โดยใช้มอยเจอร์ไรเซอร์ (Moisturizers) หลังซับหน้าแห้งแล้ว
  • ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
  • งดใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าที่มีส่วนประกอบของน้ำหอม
  • พยายามแต่งหน้าให้น้อยลง เพราะเครื่องสำอางอาจเข้าไปอุดตันรูขุมขนอาจก่อให้เกิดสิวได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า เพราะมือถือว่าเป็นแหล่งรวมเชื้อโรค
  • ทาครีมกันแดดที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำมันก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 12/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา