backup og meta

สิวเชื้อรา สาเหตุ และการป้องกัน

สิวเชื้อรา สาเหตุ และการป้องกัน

สิวเชื้อรา หรือที่เรียกกันว่า สิวยีสต์ คือ โรคที่เรียกว่า รูขุมขนอักเสบจากเชื้อรา (Malassezia Folliculitis หรือ Pityrosporum Folliculitis) เกิดจากราประเภทยีสต์ในกลุ่มมาลาสซีเซีย (Malassezia) ที่มีอยู่บนผิวหนังตามธรรมชาติเจริญเติบโตมากผิดปกติ จนทำให้รูขุมขนอักเสบ เกิดเป็นตุ่มนูน หรือตุ่มหนองขึ้นเป็นกระจุก บางครั้งอาจขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ คล้ายสิวหัวขาว ทำให้รู้สึกเจ็บ แสบ และคัน อาจพบได้บ่อยบริเวณผิวหนังที่มีความมัน เช่น ใบหน้า ไรผม หน้าอก แผ่นหลัง

[embed-health-tool-bmr]

สิวเชื้อรา แท้จริงแล้วคืออะไรกันแน่

สิวเชื้อรา หรือที่เรียกกันว่า สิวยีสต์ แท้จริงแล้วคือโรคที่เรียกว่า รูขุมขนอักเสบจากเชื้อรา เกิดจากราประเภทยีสต์ในกลุ่มมาลาสซีเซีย ที่มีอยู่บนผิวหนังตามธรรมชาติเจริญเติบโตมากผิดปกติ จนทำให้รูขุมขนอักเสบ เกิดเป็นตุ่มนูน หรือตุ่มหนองขึ้นเป็นกระจุก บางครั้งอาจขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ คล้ายสิวหัวขาว ทำให้รู้สึกเจ็บ แสบ และคัน อาจพบได้บ่อยบริเวณผิวหนังที่มีความมัน เช่น ใบหน้า ไรผม หน้าอก แผ่นหลัง แต่ก็สามารถพบที่ต้นแขน หลังมือ หรือน่องได้เช่นกัน

ลักษณะของรูขุมขนอักเสบจากเชื้อรานี้ดูคล้ายสิว หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นสิว จึงเรียกกันว่า สิวเชื้อรา หรือ สิวยีสต์ และรักษาด้วยยารักษาสิวทั่วไปจนอาจทำให้อาการแย่ลง แม้รูขุมขนอักเสบจากเชื้อราจะมีลักษณะเหมือนสิว แต่หากพิจารณาดี ๆ จะเห็นว่า รูขุมขนอักเสบจากเชื้อราและสิวนั้นแตกต่างกัน อาการที่อาจสังเกตได้ คือ อาการคัน เพราะหากเป็นสิวปกติจะไม่คัน

ผู้ที่เป็นสิวเชื้อราบางรายอาจคันหนักขึ้นหลังทำกิจกรรมที่เหงื่อออกมาก เช่น ออกกำลังกาย อบซาวน่า อาบน้ำร้อน หากเกาอาจเกิดผื่นแดงลามไปทั่วบริเวณ ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นเกลื้อนหรือโรคผิวหนังอักเสบ ที่เรียกว่า โรคเซ็บเดิร์ม ร่วมด้วย โรครูขุมขนอักเสบจากเชื้อรานี้ หากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจลุกลามถึงขั้นเป็นโรครูขุมขนอักเสบรุนแรง สร้างความเจ็บปวดทรมาน ทำให้ขนหลุดร่วงถาวรและเป็นแผลเป็นได้อีกด้วย

สาเหตุของสิวเชื้อรา

รูขุมขนอักเสบจากเชื้อราเกิดจากเชื้อราบนผิวหนังเจริญเติบโตมากผิดปกติ ซึ่งอาจมาจากปัจจัยเหล่านี้

  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่ระบายอากาศ โดยเฉพาะ ผ้าใยสังเคราะห์ ทำให้เหงื่อออกมาก เนื่องจาก ยีสต์เจริญเติบโตได้ดีในอากาศร้อน ชื้น
  • ทาผลิตภัณฑ์กันแดดหรือบำรุงผิวที่มันเกินไป เช่น น้ำมันมะพร้าว ทำให้รูขุมขนอุดตัน
  • เป็นคนผิวมัน ซึ่งน้ำมันบนผิวคืออาหารของยีสต์
  • ระบบภูมิคุ้มกันมีปัญหาจึงไม่สามารถควบคุมเชื้อยีสต์บนผิวหนังได้
  • เครียดหรือเหนื่อยล้า
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • รับประทานยากลุ่มสเตียรอยด์ เช่น ยาเพรดนิโซน (Prednisolone)
  • รับประทานยาปฏิชีวนะ ทำให้ตัวยาไปกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราชนิดนี้จึงเติบโตมากเกินไป
  • รับประทานยาคุมกำเนิด
  • น้ำหนักตัวมากเกินไป ทำให้เหงื่อออกเยอะขึ้นและเสื้อผ้าคับขึ้น

สิวเชื้อรา รักษาและป้องกันได้อย่างไรบ้าง

ผลการศึกษาพบว่า ยาต้านเชื้อราไอทราโคนาโซล (Itraconazole) สามารถรักษาสิวยีสต์ได้ดีที่สุด แต่บางคนที่มีทั้งสิวจริง ๆ และสิวเชื้อรา คุณหมออาจสั่งจ่ายยาฆ่าเชื้อราชนิดทาและครีมแต้มสิวควบคู่ไปด้วย สำหรับผู้ที่ต้องการรักษาสิวเชื้อราหรือรูขุมขนอักเสบจากเชื้อราด้วยตัวเอง อาจหาซื้อยาสระผมที่มีตัวยาซีลีเนียม ซัลไฟด์ (Selenium Sulfide) เป็นส่วนประกอบ มาทาไว้ประมาณ 10 นาที ก่อนล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือทายาฆ่าเชื้อรา เช่น อีโคนาโซล (Econazole) นอกจากนี้ ยังอาจทาทีทรีออยล์เจือจางบริเวณที่เป็นสิวเชื้อราวันละ 2 ครั้ง

สิวเชื้อราไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่การทำความสะอาดร่างกายเป็นประจำทุกวันด้วยสบู่และแชมพูต้านเชื้อรา อาจช่วยควบคุมไม่ให้เชื้อราเจริญเติบโตบนผิวหนังมากเกินไป รวมไปถึงการกินโพรไบโอติกส์ เช่น โยเกิร์ต ผักผลไม้ดอง มิโซะซุป ก็อาจช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อราที่เจริญมากผิดปกติได้เช่นกัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Fungal Acne Is A Real Thing With Real Solutions: A Guide To Defeating It. https://www.facingacne.com/fungal-acne-real-thing-real-solutions-guide-defeating/. Accessed February 20, 2019

PITYROSPORUM FOLLICULITIS. https://www.aocd.org/page/PityrosporumFollicu. Accessed February 20, 2019

What Is Pityrosporum Folliculitis?. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/what-is-pityrosporum-folliculitis. Accessed December 16, 2021

Pityrosporum folliculitis: A retrospective review of 110 cases. https://www.jaad.org/article/S0190-9622(17)32687-7/fulltext. Accessed December 16, 2021

Malassezia (Pityrosporum) Folliculitis. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3970831/. Accessed December 16, 2021

Pityrosporum Folliculitis: A Case Report. https://openventio.org/wp-content/uploads/Pityrosporum-Folliculitis-A-Case-Report-DRMTOJ-3-132.pdf. Accessed December 16, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/07/2023

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีดูแลผิวลูก เพื่อความสะอาดและปลอดภัย

รูขุมขน จำเป็นต้องทำความสะอาดเป็นพิเศษหรือไม่


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 12/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา