ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยง การติดเชื้อที่ผิวหนัง
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนัง ได้แก่
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- การไหลเวียนเลือดไม่ดี
- ผู้สูงอายุ
- โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น HIV/AIDS
- ผู้ป่วยที่เขารับการรักษาทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น เคมีบำบัด หรือใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
- ผู้ป่วยที่นอนท่าเดียวเป็นเวลานาน เช่น อัมพาต
- โรคขาดสารอาหาร
- โรคอ้วน โดยเฉพาะในผู้ที่มีผิวหนังพับเข้าหากันจนเสียดสี หรืออับชื้น
อาการ
อาการ การติดเชื้อที่ผิวหนัง
อาการขึ้นอยู่กับชนิดของการติดเชื้อ อาการทั่วไปที่มักพบบ่อย ได้แก่ ผื่นแดง คัน ปวด ควรเข้าพบคุณหมอหากมีตุ่มหนองหรืออาการไม่ดีขึ้น เพราะการติดเชื้อที่ผิวหนังอาจแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดและอาจทำให้เสียชีวิตได้ สัญญาณของการติดเชื้อรุนแรง ได้แก่
- มีหนอง
- แผลพุพอง
- ผิวลอก แตกลาย
- สีผิวซีดและเจ็บปวด
การวินิจฉัยและการรักษา
การวินิจฉัยการติดเชื้อที่ผิวหนัง
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยการติดเชื้อที่ผิวหนัง มีดังนี้
- ตรวจร่างกายและสอบถามถึงอาการ
- อาจได้รับการทดสอบในห้องปฏิบัติการ เช่น การเพาะเลี้ยงผิวหนังเพื่อระบุชนิดของการติดเชื้อ
- อาจได้รับการตรวจเลือด
การรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนัง
การรักษาขึ้นอยู่กับชนิดและความร้ายแรงของการติดเชื้อ เพราะการติดเชื้อบางชนิดอาจหายได้เอง หรืออาจใช้ครีมกับโลชั่นในการรักษา หากมีการติดเชื้อที่ผิวหนังเพียงเล็กน้อย และอาจรักษาด้วยการกินยาปฏิชีวนะ หรือฉีดยาหากผิวหนังมีการติดเชื้อบริเวณกว้าง สำหรับการรักษาฝีคุณหมอจะเปิดฝีเพื่อระบายหนองออกและผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกด้วย
ไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
ไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกัน การติดเชื้อที่ผิวหนัง
การป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนังเป็นการดูแลไม่ให้ผิวหนังบาดเจ็บและทำความสะอาดผิวหนัง เช่น เมื่อผิวหนังมีบาดแผลควรล้างแผลด้วยสบู่และน้ำ จากนั้นปิดแผลด้วยผ้าพันแผลปลอดเชื้อ
ควรทำความสะอาดผิวหนังทุกวันโดยการอาบน้ำเป็นประจำ เพื่อขจัดเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อยู่บนผิวหนัง และควรทำความสะอาดมือทุกครั้งก่อนหยิบจับสิ่งของหรืออาหาร
ไม่ควรใช้เสื้อผ้า หรือของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นเพราะอาจเป็นการแพร่เชื้อโรคสู่ผิวหนังได้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย