ผู้ที่เป็นโรคผิวเผือกบางรายอาจมีการเปลี่ยนแปลงของสีผิว เส้นผม ดวงตาจากสีขาวเป็นสีน้ำตาลเล็กน้อย เนื่องจาก ร่างกายอาจมีเม็ดสีเมลานินเพิ่มมากขึ้นเมื่อเจริญเติบโตตามช่วงอายุ
สาเหตุ
สาเหตุของโรคผิวเผือก
โรคผิวเผือกอาจเกิดจากการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่บกพร่องที่ถูกควบคุมโดยยีนด้อย ทำให้ผู้ที่เป็นโรคผิวเผือกเกิดปัญหาการผลิตเกี่ยวกับการผลิตเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ที่อยู่ในเมลาโนไซด์ โดยเมลาโนไซต์เป็นเซลล์ผิวหนังที่สร้างเม็ดสีเมลานิน เมื่อขาดเอนไซม์ไทโรซิเนส ทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดสีในเซลล์ผิวหนัง หรือสร้างได้น้อยกว่าปกติ จึงทำให้สีผิว ดวงตา เส้นผม มีสีขาวซีด
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนโรคผิวเผือก
โรคผิวเผือกอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนี้
- การมองเห็นผิดปกติ อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เช่น การศึกษาหาความรู้ การทำงาน การเคลื่อนไหว การเดินทาง
- ผิวหนังไวต่อแสงแดด อาจถูกแสงแดดเผาไหม้ และเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนัง
- ได้รับผลกระทบต่อจิตใจ ผู้ที่เป็นโรคผิวเผือกบางคนอาจถูกล้อเลียน กลั่นแกล้งจากคนในสังคม ส่งผลให้เกิดความเครียด โดดเดี่ยว เสียความมั่นใจ
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรคผิวเผือก
การวินิจฉัยโรคผิวเผือก คุณหมออาจตรวจสีผิว สีขน และอาจเทียบสีผิวกับบุคคลในครอบครัวว่าแตกต่างกันเพียงใด นอกจากนี้ คุณหมออาจตรวจปัญหาด้านการมองเห็นด้วยอิเล็กโทรดขนาดเล็กที่ปล่อยคลื่นไฟฟ้า เพื่อทดสอบว่าดวงตาและสมองที่ควบคุมการมองเห็นมีความผิดปกติใด ๆ หรือไม่
การรักษาโรคผิวเผือก
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคผิวเผือกให้หายขาด แต่อาจดูแลรักษาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็นเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต ดังนี้
- รับประทานยาไนทิสซีโนน (Nitisinone) คือ ยาที่อาจช่วยเพิ่มเม็ดสีเมลานิน ที่อาจทำให้เส้นผมและผิวมีสีเข้มขึ้นเล็กน้อย แต่อาจไม่ช่วยแก้ไขปัญหาด้านการมองเห็น
- แว่นสายตา หรือคอนแทคเลนส์ ควรตรวจสายตาจากจักษุแพทย์เป็นประจำ และสวมใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ตามคำแนะนำของคุณหมอ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการมองเห็น
- บริหารดวงตา หากผู้ป่วยโรคผิวเผือกมีภาวะตาเหล่ กล้ามเนื้อควบคุมดวงตาผิดปกติ คุณหมออาจรักษาด้วยการบริหารดวงตา บางกรณีที่รุนแรงผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดและฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อตาแทน
- ดูแลผิวเพื่อป้องกันมะเร็งผิวหนัง ควรเข้าตรวจสุขภาพผิวทุกปี เพื่อตรวจคัดกรองหามะเร็งผิวหนังหรือภาวะต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่มะเร็ง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคผิวเผือก
เพื่อป้องกันไม่ให้อาการของโรคแย่ลง ควรดูแลตัวเองด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบต่อดวงตา
- ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 50 ขึ้นไป เพื่อป้องกันรังสี UVA และ UVB รวมถึงหลีกเลี่ยงการเผชิญกับแสงแดดเป็นเวลานาน
- สวมใส่เสื้อผ้าเพื่อป้องกันแสงยูวี เช่น เสื้อแขนยาว เสื้อคอปก กางเกงขายาว เสื้อคลุม ถุงเท้า หมวก แว่นกันแดด
- ฝึกบริหารดวงตาด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของคุณหมอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย