backup og meta

ถุงน้ำในรังไข่แตก คืออะไร อันตรายหรือไม่อย่างไร

ถุงน้ำในรังไข่แตก คืออะไร อันตรายหรือไม่อย่างไร

ซีสต์ (cyst) หมายถึง “ถุงน้ำ” อะไรก็ตามที่มีเปลือกและมีน้ำหรือของเหลวภายในก็จะเรียกว่าซีสต์ ซึ่งสามารถเกิดได้ในหลายอวัยวะในร่างกาย โดยในวันนี้ก็จะกล่าวถึงเรื่อง ถุงน้ำในรังไข่แตก ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่มีถุงน้ำรังไข่ผิดปกติในระยะแรกอาจไม่ค่อยมีสัญญาณเตือนอาการใด ๆ แล้วถ้าหากเกิดถุงน้ำนั้นแตกขึ้นมาจะอันตรายหรือไม่อย่างไร

คำจำกัดความ

รังไข่ จำเป็นอย่างไรในร่างกาย

รังไข่ (Ovary) เป็นอวัยวะที่มีขนาดเล็กรูปร่างคล้ายวงรี มีอยู่ทั้ง 2 ฝั่ง คือด้านซ้าย และด้านขวาเชื่อมต่อกับปีกมดลูก โดยมีหน้าที่สำคัญในการผลิตเซลล์สืบพันธ์ และฮอร์โมนเพศหญิง ก็คือ เอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษณะต่าง ๆ ในเพศหญิง โดยรังไข่จะปล่อยไข่ในจุดกึ่งกลางของรอบประจำเดือนในแต่ละรอบ ซึ่งสามารถคำนวณการตกไข่ได้ ที่นี่

ถุงน้ำในรังไข่ คืออะไร

ภาวะถุงน้ำในรังไข่ (Ovarian Cyst) คือ ภาวะที่มีถุงน้ำเกิดขึ้นภายในรังไข่ หรือบริเวณรอบรังไข่ โดยสาเหตุของการเกิดภาวะถุงน้ำในรังไข่นั้นอาจเกิดจากความผิดปกติของรังไข่ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ภาวะถุงน้ำในรังไข่นั้นยังมีหลากหลายประเภท เช่น ถุงน้ำเนื้องอกซีสตาดีโนมา ถุงน้ำเดอร์มอยด์

อาการ

อาการ ถุงน้ำในรังไข่แตก

อาการที่อาจพบหากถุงน้ำในรังไข่แตก ได้แก่:

  • ปวดท้องน้อยอย่างกะทันหัน
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • คลำได้ก้อนถุงน้ำบริเวณหน้าท้อง กดเจ็บ ในรายที่ผอมมาก ๆ
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • คลื่นไส้ และอาเจียน

รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนสามารถพบได้กับโรคถุงน้ำรังไข่ทุกชนิด ซึ่งอาการดังกล่าวข้างต้นอาจไม่ใช่สัญญาณเตือนเฉพาะเจาะจงว่าซีสต์กำลังจะแตก เพียงแต่เป็นอาการที่สามารถพบเจอได้

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

คุณควรไปพบคุณหมอ หากมีอาการที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีอาการอื่น ๆ ที่ผิดปกติ

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุถุงน้ำรังไข่แตก

โดยปกติไม่อาจรู้ได้ว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดถุงน้ำรังไข่แตกได้ ซึ่งอาจเกิดจากขนาดที่อาจเป็นปัจจัย ยิ่งหากมีขนาดใหญ่มากเท่าไหร่ ก็อาจเพิ่มโอกาสแตกมากขึ้นเท่านั้น รวมไปถึงการมีเพศสัมพันธ์ และการออกกำลังกายอย่างหนักก็อาจทำให้ซีสต์แตกได้ ซึ่งเป็นเพียงการคาดการณ์ยังไม่มีผลการวิจัยออกมาอย่างแน่ชัดว่าอะไรคือสาเหตุหลักของการทำให้ซีสต์รังไข่แตก

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในนี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย

  • อัลตร้าซาวด์ การทดสอบนี้ใช้คลื่นเสียง เพื่อดูขนาด รูปร่าง และตำแหน่งของถุงน้ำ
  • การตรวจเลือด ตรวจหาธาตุเหล็กในเลือด (โรคโลหิตจาง)
  • การตรวจปัสสาวะ อาจช่วยให้หาสาเหตุอื่น ๆ ได้
  • ซีทีสแกน ใช้รังสีเอกซ์ และคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างภาพโดยละเอียดของตำแหน่ง

อาจต้องทำการทดสอบเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุอื่น ๆ ของอาการ และวินิจฉัย

วิธีรักษา ถุงน้ำในรังไข่แตก

หากถุงน้ำในรังไข่แตกสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดออก หากถุงน้ำรังไข่แตกแบบมีเลือดออกในช่องท้องต้องทำการผ่าตัดโดยด่วน เพื่อไม่ให้เลือดคั่งในช่องท้อง และลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในกรณีที่ถุงน้ำในรังไข่แตกไม่มาก ตรวจแล้วไม่พบว่าอันตราย หมออาจให้ฮอร์โมนเพื่อปรับการทำงานของรังไข่ และติดตามอาการ ทั้งนี้ ทั้งนั้นขึ้นอยู่อาการของถุงน้ำในรังไข่ของแต่ละบุคคล

การจะบอกว่าถุงน้ำในรังไข่แตกไม่อันตรายเลยก็เป็นไปไม่ได้ เพราะสิ่งนั้นมันอยู่ภายในร่างกาย หากสาว ๆ คนใดมีอาการที่ไม่ค่อยดี ควรรีบไปปรึกษาคุณหมอทันที อย่านิ่งนอนใจคิดว่าแล้วไม่เป็นอะไรกันนะ

[embed-health-tool-ovulation]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What is management of a ruptured ovarian cyst?. https://www.hopkinsmedicine.org/health/treatment-tests-and-therapies/management-of-ruptured-ovarian-cyst. Accessed July 9, 2021

When an Ovarian Cyst Ruptures: Is It an Emergency?. https://health.clevelandclinic.org/when-an-ovarian-cyst-ruptures-is-it-an-emergency/. Accessed July 9, 2021

What Risks Are Associated with a Ruptured Ovarian Cyst?. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/what-risks-are-associated-with-a-ruptured-ovarian-cyst. Accessed July 9, 2021

Treating a Ruptured Ovarian Cyst. https://www.fairview.org/patient-education/90243. Accessed July 9, 2021

Ovaries. https://www.yourhormones.info/glands/ovaries/. Accessed July 9, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/12/2024

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด (Premature ovarian failure)

ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป คืออะไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 3 สัปดาห์ก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา