
ตาล้า (Eye Fatigue) เป็นภาวะหนึ่งที่พบได้ทั่วไป ที่เกิดขึ้นเมื่อดวงตามีอาการเมื่อยล้าจากการใช้งานหนัก เช่น การอ่านหนังสือเป็นเวลานานเกินไป การขับรถในระยะทางที่ไกล หรือการเพ่งมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดิจิทัลอื่นๆ
คำจำกัดความ
ตาล้า คืออะไร
ตาล้า (Eye fatigue หรือ eyestrain) เป็นภาวะหนึ่งที่พบได้ทั่วไป ที่เกิดขึ้นเมื่อดวงตามีอาการเมื่อยล้าจากการใช้งานหนัก เช่น การอ่านหนังสือเป็นเวลานานเกินไป การขับรถในระยะทางที่ไกล หรือการเพ่งมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ตาล้าเป็นสิ่งกวนใจ แต่มักมีอาการไม่รุนแรง และหายไปได้เองเมื่อคุณพักผ่อนสายตา แต่ถ้าอาการไม่หายไป ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
พบได้บ่อยเพียง
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
อาการ
อาการของตาล้า
ตาล้าสัมพันธ์กับอาการรบกวนต่างๆ เช่น
- มีอาการปวดหรือระคายเคืองตา
- มีปัญหาในการเพ่งมอง
- ตาแห้งหรือตาแฉะ
- มองเห็นไม่ชัดหรือเห็นภาพซ้อน
- มีความไวต่อแสงมากขึ้น
- มีอาการปวดที่คอ ไหล่ หรือหลัง
อาจมีสัญญาณหรืออาการบางประการ ที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ นอกจากนี้ อาการตาล้าไม่มีผลที่ร้ายแรง หรือมีอาการในระยะยาว แต่หากมีอาการแย่ลงอาจทำให้รู้สึกรำคาญใจ รู้สึกอ่อนเพลีย และทำให้การมองเห็นมีปัญหา ควรปรึกษาแพทย์ทันที
สาเหตุ
สาเหตุของตาล้า
สาเหตุของ ตาล้า
กิจกรรมใดๆ ที่จำเป็นต้องใช้สายตาหนักสามารถทำให้ตาล้าได้ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ทำเป็นเวลานานดังต่อไปนี้
- อ่านหนังสือ
- เขียนหนังสือ
- ขับรถ
- สัมผัสแสงจ้า หรือฝืนใช้สายตาในที่ที่มีแสงน้อย
สาเหตุที่พบได้มากที่สุดประการหนึ่งของสายตาล้า คือการจ้องอุปกรณ์ดิจิทัลเป็นเวลานาน เช่น
- หน้าจอคอมพิวเตอร์
- สมาร์ทโฟน
- วิดีโอเกม
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของตาล้า
ผู้ที่ใช้สายตาอย่างไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน อาจมีความเสี่ยงสูงในการเกิดอาการตาล้า
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยอาการตาล้า
จักษุแพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับ ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดอาการต่างๆ และตรวจดวงตาเพื่อการทดสอบการมองเห็น
การรักษาอาการตาล้า
โดยทั่วไปแล้ว การรักษาตาล้าประกอบด้วยการ เปลี่ยนแปลงนิสัยประจำวันหรือสิ่งแวดล้อม บางคนอาจจำเป็นต้องรักษาโรคกี่ยวกับดวงตาที่เป็นอยู่เสียก่อน
สำหรับบางคนแล้ว การใส่แว่นตาสำหรับกิจกรรมเฉพาะ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์หรืออ่านหนังสือ จะช่วยลดอาการสายตาล้าได้ แพทย์อาจแนะนำให้บริหารดวงตาเป็นประจำเพื่อช่วยให้ดวงตาสามารถเพ่งมองได้ในระยะต่างๆ ได้ดีขึ้น
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง ที่ช่วย
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการปฏิบัติตนขั้นพื้นฐ
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการอาการตาล้า
- ปรับแสงไฟ เมื่ออ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์ ควรใช้แสงไฟที่ทำให้สบายตามากที่สุด
- พักผ่อนสายตาเป็นระยะ สามารถลองใช้กฎ 20-20-20 กล่าวคือ ทุก 20 นาที ให้พักผ่อนสายตาเป็นเวลา 20 วินาทีและมองไปยังบางสิ่งที่อยู่ห่างออกไป 20 ฟุต
- นั่งทำงานในตำแหน่งที่เหมาะสม โดยใช้เก้าอี้ที่ปรับได้ หรือปรับระยะหน้าจอคอมพิวเตอร์ ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
- ปรับความละเอียดของหน้าจอคอมพิวเตอร์ ควรปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้มีความละเอียดสูง ความละเอียดที่มากขึ้นทำให้ตัวอักษรคมชัด และแสดงภาพชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอาการสายตาล้าได้
- รักษาความสะอาดของหน้าจอคอมพิวเตอร์ เช็ดฝุ่นจากหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นประจำ ฝุ่นละอองจะลดความแตกต่างของสี และทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเพ่งมอง และการสะท้อนแสงได้
- รับประทานวิตามินต่างๆ การได้รับวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณที่เหมาะสมมีความสำคัญต่อสุขภาพดวงตาโดยรวม โดยควรเลือกวิตามินที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ และส่วนประกอบต่างๆ ที่ช่วยทำให้สุขภาพดวงตาดีขึ้นและลดอาการสายตาล้า เช่น วิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินอี ร่วมกับวิตามินบีรวมและสังกะสี
หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้น ถงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด