ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ
การตรวจความดันโลหิตที่บ้าน (Home Blood Pressure Test) ช่วยให้ติดตามค่าความดันโลหิตที่บ้านได้ด้วยตัวเอง โดยเป็นการวัดแรงดันของเลือดภายในหลอดเลือด
คนส่วนใหญ่ใช้เครื่องมืออัตโนมัติเพื่อวัดความดันโลหิตที่บ้าน เครื่องมือนี้ทำงานโดยการเป่าลมเข้าไปยังสายรัดแขนที่จะใช้พันรอบแขนส่วนบนเพื่อหยุดกระแสเลือดในหลอดเลือดชั่วคราว ในขณะที่อากาศถูกปล่อยจากผ้ารัดแขนอย่างช้าๆ เครื่องมือวัดความดันโลหิตจะบันทึกค่าความดันขณะที่เลือดเริ่มไหลเวียนอีกครั้ง
ความดันโลหิตจะถูกบันทึกเป็นสองค่า
ค่าความดันโลหิตสองประการนี้แสดงเป็นหน่วยมิลลิเมตรของปรอท (mm Hg) เนื่องจากเครื่องมือดั้งเดิมที่ใช้วัดความดันโลหิตเป็นการใช้ปรอท ค่าความดันโลหิตบันทึกเป็น systolic/diastolic เช่น หากค่าความดันซิสโตลิกมีค่าเป็น 120 mm Hg และค่าความดันไดแอสโตลิกมีค่าเป็น 80 mm Hg ค่าความดันโลหิตของคุณบันทึกเป็น 120/80
เครื่องมือวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องมือวัดความดันโลหิตอิเล็กทรอนิกส์หรือดิจิทัล เป็นเครื่องมือวัดความดันโลหิตแบบใช้แบตเตอรี่ที่ใช้ไมโครโฟนเพื่อจับจังหวะการไหลเวียนเลือด สายรัดแขน ซึ่งใช้พันโดยรอบแขนส่วนบนจะมีการดูดลมเข้าและปล่อยลมออกโดยอัตโนมัติเมื่อกดปุ่มเริ่มการทำงาน
เครื่องมือวัดความดันโลหิตที่พบได้ทั่วไปในซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา และชอปปิงมอลล์เป็นเครื่องมือแบบอัตโนมัติ
ส่วนเครื่องมือวัดความดันโลหิตที่วัดค่าบริเวณนิ้วมือหรือข้อมือมักแสดงผลไม่แม่นยำและไม่แนะนำให้ซื้อ
เครื่องมือวัดความดันโลหิตแบบธรรมดาคล้ายคลึงกับเครื่องมือที่แพทย์ใช้เครื่องมือดังกล่าวที่เรียกว่าเครื่องวัดความดันชนิดปรอท (Sphygmomanometer) มักประกอบด้วยสายรัดแขน หลอดสำหรับบีบเพื่อเป่าลมเข้าสายรัดแขน เครื่องมือฟังเสียงหัวใจ (stethoscope หรือ microphone) และมาตรวัดเพื่อวัดความดันโลหิต
การวัดความดันโลหิตทำได้โดยการหยุดการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดชั่วคราว (มักทำโดยการเป่าเข้าผ้ารัดแขนที่ใช้พันรอบแขนส่วนบน) จากนั้นวางเครื่องมือฟังเสียงหัวใจลงบนผิวหนังเหนือหลอดเลือดสามารถเริ่มฟังเสียงเลือดที่เริ่มไหลเวียนผ่านหลอดเลือดอีกครั้งในขณะที่ปล่อยอากาศออกจากสายรัดแขน
ความดันโลหิตจะแสดงเห็นได้ในหน้าปัดรูปวงกลมที่มีเข็มชี้ ในขณะที่ความดันในสายรัดแขนเพิ่มขึ้น เข็มบนหน้าปัดจะเคลื่อนที่ตามเข็มนาฬิกา ในขณะที่ความดันของสายรัดแขนลดลง เข็มจะเคลื่อนที่ทวนเข็มนาฬิกา ในขณะที่ความดันของสายรัดแขนลดลงนั้น เครื่องวัดจะตรวจกระแสเลือดไหลเวียนที่ได้ยินเป็นครั้งแรกซึ่งจะปรากฏเป็นค่าความดันซิสโตลิก ส่วนค่าที่ปรากฏที่มาตรวัดเมื่อไม่สามารถได้ยินกระแสเลือดอีกเป็นค่าความดันไดแอสโตลิก
เครื่องมือวัดความดันโลหิตแบบต่อเนื่องที่บ้านเป็นเครื่องมือขนาดเล็กที่ใส่ติดตัวคนไข้ตลอดทั้งวันเป็นเวลา 24 หรือ 48 ชั่วโมง เครื่องมือนี้วัดความดันโลหิตได้โดยอัตโนมัติ
แพทย์อาจแนะนำเครื่องมือนี้หากแพทย์คิดว่าผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงปลอม (white-coat/office hypertension) หากวิธีอื่นไม่ให้ผลการตรวจที่คงที่
แพทย์อาจแนะนำให้วัดความดันโลหิตที่บ้าน ในกรณีดังนี้
ก่อนตรวจวัดความดันโลหิต ควรปฏิบัติดังนี้
ความดันโลหิตในแขนข้างขวาอาจสูงกว่าหรือต่ำกว่าความดันโลหิตในแขนข้างซ้าย ด้วยเหตุผลนี้ ให้พยายามใช้แขนข้างเดียวกันในการตรวจวัดทุกครั้ง
ในระยะแรก ควรวัดความดันโลหิต 3 ครั้งติดต่อกัน โดยแต่ละครั้งห่างกัน 5 หรือ 10 นาที แต่ถ้ารู้สึกสบายในการวัดความดันโลหิตด้วยตัวเองแล้วควรตรวจวัด 1-2 ครั้งในแต่ละครั้ง
ข้อแนะนำสำหรับการใช้เครื่องมือวัดความดันโลหิตมีความหลากหลายโดยขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องมือที่ใช้ โดยแนวทางทั่วไปมีดังต่อไปนี้
ให้บันทึกตัวเลขความดันโลหิตโดยระบุวันที่และเวลา อาจใช้สมุดบันทึกรายการหรือตารางในคอมพิวเตอร์ เครื่องมือวัดความดันโลหิตอาจสามารถบันทึกตัวเลขไว้ได้ หรือเครื่องมือบางประเภทสามารถส่งข้อมูลนี้ไปยังคอมพิวเตอร์ได้ด้วย
นอกจากนี้ ควรบันทึกกิจกรรมประจำวันด้วย เช่น เวลาที่ใช้ยาหรือเวลาที่รู้สึกหงุดหงิดหรือรู้สึกเครียด บันทึกดังกล่าวอาจช่วยอธิบายความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับค่าความดันโลหิตและช่วยให้แพทย์ปรับเปลี่ยนการใช้ยารักษาได้
ความดันโลหิตสำหรับผู้ใหญ่อายุ 18 ปี และมากกว่า (mm Hg)
ภาวะก่อนเป็นความดันโลหิตสูง
โดยทั่วไปแล้ว ยิ่งมีความดันโลหิตต่ำเท่าใดยิ่งดี เช่น ค่าความดันโลหิตที่ต่ำกว่า 90/60 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดีหากรู้สึกดี แต่หากมีความดันโลหิตต่ำ รู้สึกเวียนศีรษะ เป็นลม หรือรู้สึกเหมือนจะอาเจียน ควรปรึกษาแพทย์
ค่าปกติสำหรับการตรวจความดันโลหิตที่บ้านอาจมีความหลากหลายโดยขึ้นอยู่กับผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาลแต่ละแห่ง โปรดปรึกษาแพทย์หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับผลการทดสอบ
หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับการตรวจความดันโลหิตที่บ้าน โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจคำแนะนำของแพทย์ได้ดีขึ้น
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
ทีม Hello คุณหมอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย