backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน (Home Blood Glucose Test)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน (Home Blood Glucose Test)

ตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน (Home Blood Glucose Test) เป็นการตรวจวัดปริมาณน้ำตาลกลูโคสในเลือด โดยสามารถตรวจได้ที่บ้านหรือที่ใดๆ ก็ตาม โดยใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา

ข้อมูลพื้นฐาน

การ ตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน คืออะไร

ตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน (home blood glucose test) เป็นการตรวจวัดปริมาณน้ำตาลกลูโคสในเลือด โดยสามารถตรวจได้ที่บ้านหรือที่ใด ๆ ก็ตาม โดยใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา

การตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน สามารถใช้ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตัวเอง แต่ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความถี่ในการตรวจ ซึ่งความถี่ของการตรวจขึ้นอยู่กับว่าการรักษาโรคเบาหวานมีการควบคุมได้ดีเพียงใด รวมทั้งปัจจัยสุขภาพโดยรวมด้วย

สำหรับผู้ที่ใช้อินซูลินเพื่อควบคุมโรคเบาหวานอาจจำเป็นต้องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดบ่อยขึ้น

สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยได้ใช้อินซูลินหรือไม่ใช้เลย การทดสอบน้ำตาลในเลือดอาจมีประโยชน์สำหรับการทดสอบว่าร่างกายของเรามีปฏิกิริยาต่ออาหาร อาการเจ็บป่วย ความเครียด การออกกำลังกาย ยา และกิจกรรมอื่นๆ ได้ดีเพียงใด โดยการทดสอบก่อนและหลังรับประทานอาหารจะช่วยให้เราปรับการรับประทานอาหารให้เหมาะสมได้

เครื่องตรวจน้ำตาลบางประเภทสามารถบันทึกค่าน้ำตาลในเลือดได้นับร้อยค่า ทำให้สามารถศึกษาค่าน้ำตาลในเลือดที่บันทึกไว้เมื่อเวลาผ่านไป และสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับระดับน้ำตาลในช่วงเวลาต่าง ๆ ของวัน อีกทั้งยังสามารถหาความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างรวดเร็ว ระบบเหล่านี้สามารถบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแปลงข้อมูลเป็นกราฟหรือรูปแบบอื่น เพื่อให้วิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น

ปัจจุบัน เครื่องตรวจน้ำตาลรุ่นใหม่ ๆ สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องอินซูลินปั๊ม ซึ่งเป็นเครื่องปล่อยอินซูลินเข้าสู่ร่างกายในระหว่างวัน เครื่องมือดังกล่าวจะช่วยกำหนดปริมาณอินซูลินที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดตามที่ตั้งค่าไว้

ความจำเป็นในการตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน

แพทย์จะแนะนำเกี่ยวกับความถี่ที่ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยขึ้นอยู่กับประเภทของโรคเบาหวานและแผนในการรักษา

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจน้ำตาลในเลือดจำนวน 4-8 ครั้งต่อวัน และอาจจำเป็นต้องตรวจก่อนรับประทานอาหารและอาหารว่าง ก่อนและหลังออกกำลังกาย ก่อนนอน และในบางครั้งในตอนกลางคืน ทั้งยังอาจจำเป็นต้องตรวจบ่อยขึ้นหากมีอาการป่วย หรือมีการเปลี่ยนเแปลงกิจวัตรประจำวัน หรือเริ่มใช้ยาใหม่
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หากต้องใช้อินซูลินเพื่อควบคุมโรคเบาหวานประเภท 2 แพทย์อาจแนะนำการตรวจน้ำตาลในเลือด 2 ครั้งต่อวัน หรือมากกว่า โดยขึ้นอยู่กับประเภทและปริมาณอินซูลินที่จำเป็น

การตรวจมักแนะนำก่อนอาหารและในบางครั้งก่อนนอน แต่หากมีการควบคุมโรคด้วยอาหารและการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวโดยไม่ใช้อินซูลิน อาจไม่จำเป็นตรวจน้ำตาลในเลือดเป็นประจำทุกวัน

ข้อควรรู้ก่อนการตรวจ

ข้อควรรู้ก่อนตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน

  • หากคิดว่าการผลตรวจจากเครื่องแตกต่างจากที่คาดไว้ ให้ตรวจซ้ำอีก
  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน ควรพบคุณหมอก่อนคลอดอย่างสม่ำเสมอ และควรตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้านเป็นประจำ โดยหญิงมีครรภ์ที่รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในช่วงที่แพทย์แนะนำ เด็กที่คลอดออกมามีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพแข็งแรง และลดโอกาสการเกิดอาการแทรกซ้อนที่สัมพันธ์กับเบาหวานได้
  • การตรวจปัสสาวะอาจใช้ตรวจหาภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) ซึ่งมีอาการรุนแรงกว่า นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจเลือดเพื่อหาสารคีโตน (ketones) ได้ด้วย

ขั้นตอนการตรวจ

การเตรียมตัวก่อน ตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน

การตรวจน้ำตาลในเลือดจำเป็นต้องใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา เครื่องมือนี้จะวัดปริมาณน้ำตาลจากตัวอย่างเลือดปริมาณเล็กน้อยจากการเจาะปลายนิ้วมือ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้มีความรู้เรื่องโรคเบาหวานเกี่ยวกับการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม

นอกจากนี้ ยังควรขอให้แพทย์หรือผู้ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานสอนวิธีใช้การเครื่องมือที่ถูกต้องด้วย

ขั้นตอนการตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน

คำแนะนำสำหรับการตรวจแตกต่างกันออกไปเล็กน้อยตามเครื่องวัดน้ำตาลแต่ละรุ่น เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่ถูกต้อง ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำการใช้เครื่องตรวจอย่างระมัดระวัง โดยควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • ล้างมือด้วยน้ำสบู่อุ่น เช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
  • ใส่เข็มสะอาด (ที่เจาะเลือด) เข้าไปในเครื่องมือเจาะเลือด เครื่องมือเจาะเลือดมีลักษณะเป็นด้ามจับขนาดเท่าปากกาซึ่งเป็นตัวยึดเข็มเจาะ ช่วยวางตำแหน่ง และควบคุมความลึกของเข็มที่เจาะเข้าไปใต้ผิวหนัง
  • นำแถบทดสอบออกจากขวดบรรจุและปิดฝาทันทีหลังจากนำแถบตรวจออกมาเพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นส่งผลต่อแถบตรวจที่เหลือ ในบางรุ่น แถบตรวจจะถูกเก็บรักษาไว้ภายในเครื่องตรวจ
  • เตรียมเครื่องมือตรวจน้ำตาลในเลือดโดยปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในเครื่องตรวจ
  • ใช้เครื่องมือเจาะเลือดเจาะเข้าบริเวณด้านข้างของปลายนิ้ว โดยห้ามเจาะเลือดที่ปลายนิ้วเนื่องจากการเจาะอาจมีอาการเจ็บปวดมากกว่าและอาจได้เลือดไม่เพียงพอที่จะตรวจได้อย่างถูกต้อง เครื่องมือตรวจน้ำตาลในเลือดรุ่นใหม่บางชนิดใช้เครื่องมือเจาะเลือดที่สามารถนำตัวอย่างเลือดจากบริเวณอื่น ๆ นอกเหนือจากนิ้วมือได้ เช่น ฝ่ามือหรือแขนท่อนปลาย
  • หยดเลือดลงบนแถบทดสอบในบริเวณที่เหมาะสม
  • ใช้สำลีก้อนสะอาดแล้วกดลงบนบริเวณที่กดนิ้ว (หรือบริเวณอื่น) เพื่อห้ามเลือด
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำในเครื่องมือตรวจน้ำตาลในเลือดเพื่อให้ได้ผลการตรวจ เครื่องมือตรวจบางชนิดใช้เวลาเพียง 2-3 วินาทีเพื่อแสดงผลการตรวจ

หลังการตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน

ควรจดผลการตรวจและเวลาตรวจเลือดไว้ แต่เครื่องตรวจส่วนใหญ่จะบันทึกผลตรวจไว้ได้หลายวันหรือหลายสัปดาห์ จึงสามารถย้อนกลับไปค้นหาได้เสมอ ผู้ป่วยหรือแพทย์จะใช้ข้อมูลที่บันทึกไว้นี้ เพื่อดูว่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ภายในช่วงค่าที่แนะนำสม่ำเสมอหรือไม่ โดยแพทย์ยังอาจใช้ผลตรวจนี้เพื่อดูว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการใช้ยา (อินซูลินหรือยาเม็ด) หรือไม่

หลังการใช้งานเครื่องตรวจควรถอดเข็มเจาะเลือดอย่างปลอดภัย และห้ามทิ้งในถังขยะทั่วไป เพราะอาจเกิดอันตรายต่อผู้อื่นได้โดยไม่ตั้งใจ โดยควรใส่ที่เจาะเลือดที่ใช้แล้วไว้ในภาชนะพลาสติก เช่น ขวดผลิตภัณฑ์ซักผ้าที่ใช้หมดแล้ว และให้ปิดฝาอย่างแน่นหนาเมื่อบรรจุเต็มถึงระดับประมาณสามในสี่ส่วนของภาชนะ และติดต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบในการกำจัดขยะชนิดพิเศษเพื่อการกำจัดอย่างเหมาะสม ซึ่งบางหน่วยงานมีข้อปฏิบัติเฉพาะสำหรับการกำจัดขยะทางการแพทย์ ในบางครั้ง คลินิกหรือโรงพยาบาลอาจรับกำจัดขยะดังกล่าวด้วย

ผลการตรวจ

การอ่านผลการตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน

ค่าน้ำตาลข้างล่างนี้เป็นพื้นฐานค่าน้ำในเลือดที่เหมาะสมตลอดทั้งวันซึ่งอาจแตกต่างจากของผู้อื่นและจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดทั้งวัน

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่ได้ตั้งครรภ์

  • 70 mg/dL (3.9 mmol/L) ถึง 130 mg/dL (7.2 mmol/L) ก่อนรับประทานอาหาร
  • น้อยกว่า 180 mg/dL (10 mmol/L) 1–2 ชั่วโมงหลังจากเริ่มรับประทานอาหาร

สำหรับผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์

  • 95 mg/dL (5.3 mmol/L) หรือน้อยกว่า ก่อนอาหารเช้า
  • 140 mg/dL (7.8 mmol/L) หรือน้อยกว่า เป็นเวลา 1 ชั่วโมงหลังจากเริ่มรับประทานอาหาร หรือ 120 mg/dL (6.7 mmol/L) หรือน้อยกว่า ในเวลา 2 ชั่วโมงหลังจากเริ่มรับประทานอาหาร

โรคบางโรคอาจเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด แพทย์จะอธิบายเกี่ยวกับผลการตรวจสำคัญ ๆ ที่บ่งชี้ถึงความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับอาการต่าง ๆ และสุขภาพโดยรวม

ควรสอบถามแพทย์เกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมเป็นรายบุคคล และควรวางแผนสำหรับวิธีการจัดหากพบค่าน้ำตาลในเลือดสูงเกินหรือต่ำเกินไป หรือควรติดต่อแพทย์เมื่อใด

จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล ค่าปกติสำหรับการตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้านอาจมีความหลากหลาย โปรดปรึกษาแพทย์หากมีคำถามใด ๆ เกี่ยวกับผลการทดสอบ

หากมีคำถามใด ๆ เกี่ยวกับการตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจคำแนะนำของแพทย์ได้ดีขึ้น

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา