การตรวจเอกซเรย์ คืออะไร
การตรวจเอกซเรย์ (X-ray) คือการตรวจร่างกายชนิดหนึ่ง โดยการฉายรังสีเอกซเรย์ผ่านตัวผู้ป่วย เพื่อสร้างภาพภายในร่างกาย ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในร่างกายได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงมือผ่าตัดให้เกิดแผล การตรวจเอกซเรย์นี้มีใช้กันมาเป็นเวลาหลายสิบปี เนื่องจากเป็นวิธีการตรวจที่รวดเร็ว และไม่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บตัวอีกด้วย
เมื่อรังสีเอกซเรย์ถูกฉายผ่านร่างกาย รังสีนั้นก็จะถูกดูดซึมในอัตราที่แตกต่างกันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และเครื่องตรวจจับรังสีเอกซเรย์ ก็จะบันทึกภาพออกมาเป็นแผ่นฟิล์มเอกซเรย์ ให้แพทย์สามารถใช้เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคได้ โดยส่วนที่มีความหนาแน่นสูง เช่น กระดูก มักจะแสดงให้เห็นเป็นส่วนสีขาวในแผ่นฟิล์มเอกซเรย์ ส่วนจุดที่ความหนาแน่นน้อยกว่า เช่น หัวใจ หรือปอด ก็จะแสดงเป็นส่วนสีดำ
ประเภทของการตรวจเอกซเรย์
การตรวจเอกซเรย์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
การถ่ายภาพรังสี (Radiography) เป็นการตรวจเอกซเรย์ที่พบได้มากที่สุด ใช้เพื่อฉายภาพในบริเวณกระดูก ฟัน และหน้าอก เป็นวิธีการตรวจที่ใช้รังสีเอกซเรย์น้อยที่สุด
การตรวจเอกซเรย์ฟลูออโรสโคปี (Fluoroscopy) เป็นการตรวจโดยการฉายภาพแบบเรียลไทม์ ใช้เพื่อตรวจดูการทำงานของลำไส้หลังจากกลืนสารแบเรียม (Barium) ลงไป จะใช้รังสีมากกว่าการถ่ายภาพรังสีเล็กน้อย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย