ควรเข้ารับการรักษาอาการสะอึกเมื่อไร
แม้ว่าอาการสะอึกจะไม่ใช่อาการฉุกเฉิน ที่ต้องเข้ารับการรักษา แต่คุณควรพบหมอ หากมีอาการนานกว่า 3 ชั่วโมง หรือรบกวนการนอนหลับ และทำให้อาเจียน อีกทั้ง หากอาการสะอึกเกิดร่วมกับการปวดท้อง เป็นไข้ หายใจไม่ออก อาเจียนเป็นเลือด และรู้สึกว่าลำคอตีบลง คุณควรรีบเข้ารับการช่วยเหลือโดยเร็ว
การวินิจฉัยอาการสะอึก
แพทย์จะทำการตรวจร่างกายเป็นอันดับแรก หากแพทย์สงสัยว่าอาการสะอึกเกิดจากโรคที่ไม่แสดงอาการ อาจต้องทำการตรวจทางห้องแล็บ
การรักษาอาการสะอึก
อาการสะอึกที่รุนแรงและเรื้อรัง จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ แพทย์อาจสั่งยาคลอโปรมาซีน (โธราซีน) หรือยาบาโคลเฟน อย่างเช่น ลิโอเรซอล (Lioresal) และยารักษาอาการชัก เช่น ฟีเนโทอีน (phenytoin) อย่างเช่น ไดแลนทีน (Dilanin) สามารถรักษาอาการสะอึกได้ผลเช่นเดียวกัน
ในบางกรณี อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด คุณอาจจำเป็นต้องใช้ยาชาเพื่อกั้นเส้นประสาทเฟรนิค และตัวกระตุ้นไฟฟ้าที่ฝังอยู่ที่เส้นประสาทเวกัส (vagus nerve) หากการรักษาที่กล่าวมาไม่ได้ผล แพทย์อาจต้องใช้การผ่าตัด เพื่อระงับการทำงานของเส้นประสาทเฟรนิค
การรักษาอาการสะอึกด้วยตัวเอง
หากอาการสะอึกไม่ได้เกิดจากภาวะทางสุขภาพ คุณอาจลองใช้วิธีการรักษาอาการสะอึก ดังต่อไปนี้
- หายใจในถุงกระดาษ
- กลั้วน้ำเย็น
- กลั้นหายใจ
- ค่อยๆ ดื่มน้ำเย็นปริมาณพอดีคำทีละครั้ง
- ทำให้ตกใจ
- ดึงลิ้นออกมาข้างหน้า
นอกจากนี้คุณควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม หรืออาหารที่ทำให้เกิดกรด และควรรับประทานอาหารหลายมื้อในปริมาณน้อย แทนการรับประทานอาหารปริมาณมากในมื้อเดียว เท่านี้ก็ช่วยลดการสะอึกได้
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย