ปัจจัยที่ทำให้มี ขี้หู มาก
ปกติแล้วร่างกายของคนเรารู้ว่า ควรผลิตขี้หูออกมาในปริมาณเท่าไร หากคุณมีการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีสุขอนามัยที่ดี มีการขยับบริเวณกรามอยู่เสมอ โดยการเคี้ยวอาหารหรือการพูด หูก็จะขับขี้หู สิ่งสกปรกออกมาโดยธรรมชาติ
แต่ถ้าหากเรามีการแคะหู หรือพยายามเอาขี้หูออกมาเอง การทำแบบนี้จะทำให้ร่างกายพยายามที่จะสร้างขี้หูออกมาอีก เพื่อป้องกันการดักจับสิ่งสกปรก ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการได้ยิน ทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อและเกิดโรคอื่น ๆ ตามมา
นอกจากนี้ ความเครียดและความกลัวยังทำให้มีการผลิต ขี้หู เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต่อมอะโพไครน์ (Apocrine Glands) ที่ผลิตเหงื่อเป็นต่อมเดียวกันที่ผลิตขี้หูด้วย เมื่อเกิดความกลัวหรือความเครียดทำให้ร่างกายเราผลิตเหงื่อมากขึ้น ดังนั้น เมื่อมีการผลิตเหงื่อก็จะมีการผลิตขี้หูตามมา และยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ร่างกายผลิตขี้หูเพิ่มมากขึ้นด้วย คือ
- คนที่มีขนในหูเยอะ
- คนที่เป็นโรคหูอักเสบเรื้อรัง
- ช่องหูมีรูปที่ผิดปกติไปจากเดิม
- ผู้สูงอายุ
วิธีการทำความสะอาดหู
วิธีการทำความสะอาดหู มีขั้นตอนง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
- เช็ดทำความสะอาดหูด้วยผ้าชุบน้ำสบู่ที่มีความอุ่น หรืออาบน้ำด้วยน้ำอุ่น เพื่อให้ขี้หูเกิดความอ่อนตัวแล้วไหลออกมาเอง
- ใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดหู ที่ได้การรับรองจากแพทย์ สะอาด ปลอดภัย
- ตรวจสุขภาพช่องหูเป็นประจำทุกปี เพื่อทดสอบความผิดปกติ หรือสังเกตอาการได้อย่างทันที
- ปรึกษาแพทย์หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับหู เช่น การได้ยิน อาการเจ็บปวดที่หู หรือมีเลือดไหลออกจากหู
ข้อควรระวังเกี่ยวกับหู
- ใช้คอตตอนบัด (Cotton Bud) เครื่องมือที่มีความคม โดยพยามยามที่จะเขี่ยหรือแคะขี้หูออกมาด้วยตัวเอง เพราะการทำแบบนี้ยิ่งทำให้เกิดการดันขี้หูเข้าไปในช่องหูให้ลึกกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้ขี้หูไม่สามารถหลุดออกไปได้เองตามธรรมชาติ บางครั้งอาจร้ายแรงถึงทิ่มแรงถึงแก้วหูได้
- การใช้เทียนละลายขี้หู (Ear Candling) การใช้เทียนไขสอดเข้าไปในรูหูแล้วจุดไฟอีกด้านหนึ่งเพื่อให้ขี้หูไหลออก เป็นเรื่องที่ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าสามารถทำได้จริง และการทำอย่างนี้อาจทำให้ผิวเกิดการไหม้จากไฟ อุดตัน แก้วหูทะลุ และการบาดเจ็บอื่น ๆ ได้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย