backup og meta

ปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง (Anaphylaxis)

ปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง (Anaphylaxis)

ปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง  (Anaphylaxis) เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยสามารถเกิดขึ้นภายในเวลาไม่กี่วินาทีหรือไม่กี่นาทีเมื่อมีการสัมผัสสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ดังนั้นผู้ที่รู้สึกว่าตนเอง มีอาการภูมิแพ้ที่ชอบเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน ควรสังเกตตนเองเพื่อการดูแลอย่างถูกต้อง เมื่อมีอาการกำเริบเกิดขึ้นก

คำจำกัดความ

ปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง คืออะไร

ปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง (Anaphylaxis) เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยสามารถเกิดขึ้นภายในเวลาไม่กี่วินาทีหรือไม่กี่นาทีเมื่อมีการสัมผัสสิ่งที่แพ้ เช่น ถั่วหรือพิษจากเหล็กในของผึ้ง

ผู้ที่มีปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรงมีความเสี่ยงต่อการมีอาการกำเริบในอนาคตได้ ถึงแม้ว่าอาการเริ่มแรกจะไม่รุนแรง แต่ต่อไปอาจรุนแรงมากกว่า ผู้ที่มีปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการรักษาฉุกเฉินโดยทันที หากไม่ได้รับการรักษาทันที อาจทำให้หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นได้

การทำความเข้าใจปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง และสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ที่รุนแรงนี้จะช่วยให้ป้องกันการเกิดอาการรุนแรงได้

พบได้บ่อยเพียงใด

ปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรงเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นภูมิแพ้  โดยในวัยเด็กมากเกิดจากการแพ้อาหาร ส่วนในวัยผู้ใหญ่มักเกิดจากการแพ้ยาและสาเหตุอื่นๆ

อาการ

อาการของ ปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง

อาการทั่วไปของปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง ได้แก่

  • อาการแพ้ที่ผิวหนัง ซึ่งได้แก่ ลมพิษ อาการคัน และผิวซีด
  • อาการบวมที่ใบหน้า ดวงตา ริมฝีปาก หรือลำคอ
  • ทางเดินหายใจอุดกั้น ซึ่งทำให้เกิดอาการหายใจมีเสียงและหายใจลำบาก
  • ชีพจรอ่อนและเต้นเร็ว
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องร่วง
  • เวียนศีรษะ เป็นลม หรือไม่รู้สึกตัว

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ ปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง

โดยปกติแล้ว อาการภูมิแพ้ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่บางคนที่มีอาการแพ้รุนแรงสามารถเกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรง โดยระบบภูมิคุ้มกันอาจปล่อยสารเคมีในร่างกายออกมา ในระหว่างที่มีอาการแพ้รุนแรง จนอาจทำให้เกิดอาการช็อคได้ ซึ่งความดันโลหิตจะลดลงอย่างกะทันหัน ทางเดินหายใจตีบลง จนเกิดการอุดกั้นการหายใจ  สิ่งกระตุ้นปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรงที่พบได้ทั่วไป ได้แก่

  • ยาบางชนิด โดยเฉพาะเพนิซิลลิน (Penicillin)  ยาแอสไพริน (Aspirin) ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) อย่างแอดวิล (Advil) มอทริน (Motrin) และอื่นๆ ยานาพร็อกเฟน (Naproxen)   (Aleve) ไมดอล (Midol Extended Relief)
  • อาหารต่างๆ เช่น ถั่วที่เติบโตใต้ดิน ถั่วที่เติบโตบนดิน (วอลนัท ถั่วพีแคน อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์) แป้งสาลี (พบบ่อยในเด็ก) ปลา สัตว์น้ำมีเปลือก นม และไข่
  • เหล็กในจากผึ้ง ตัวต่อเสื้อคลุมเหลืองหรือต่อเยอรมัน ตัวต่อ แตน และมดคันไฟ

ปัจจัยเสี่ยงของปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง

  • เคยมีปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรงในอดีต
  • การใช้ยาบางชนิดเช่น ยาเพนิซิลลิน
  • คนในครอบครัว มีประวัติภูมิแพ้เฉียบพลัน
  • ภูมิแพ้ หรือหอบหืด ผู้ที่มีอาการใดอาการหนึ่งดังกล่าว มีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง

ปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรงที่เกิดจากการออกกำลังกายพบได้ไม่บ่อย และแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ในผู้ป่วยบางราย การออกกำลังกายแบบแอโรบิค ซึ่งรวมถึงการวิ่งเหยาะๆ สามารถกระตุ้นปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง

รวมถึงการรับประทานอาหารบางชนิดก่อนออกกำลังกายหรือการออกกำลังกายเมื่ออากาศร้อน เย็น หรือชื้น ยังสัมพันธ์กับปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรงในบางคนได้ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อควรระวังและข้อควรปฏิบัติเมื่อออกกำลังกาย

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง

ในเบื้องต้นแพทย์จะซักถามเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้หรืออาการแพ้ใดๆ ที่เคยเป็น ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการทดสอบบางประการเพื่อยืนยันการวินิจฉัย เช่น การทดสอบผิวหนังหรือการทดสอบเลือดที่อาจเป็นสาเหตุของอาการต่างๆ ซึ่งได้แก่

  • อาการผิดปกติต่างๆ เกี่ยวกับการชัก
  • ภาวะที่ไม่ใช่ภูมิแพ้ ซึ่งทำให้เกิดผิวแดงหรืออาการทางผิวหนังอื่นๆ
  • อาการทางจิต เช่น อาการวิตกกังวล
  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจหรือปอด

การรักษาปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง

วิธีการรักษาปฏิกิกิริยาแพ้เฉียบพลันจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับอาการและวิธีการรักษาของแต่ละบุคคล แพทย์อาจตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ หรือมีการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่หยุดหายใจให้กลับมาหายใจ (Cardiopulmonary Resuscitation : CPR)  รวมถึงการรักษาด้วยยาอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนี้

  • ยาเอพิเนฟรีน (Epinephrine)  เพื่อลดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกายของคุณ
  • การใช้ออกซิเจน เพื่อชดเชยการหายใจที่ถูกขัดขวาง
  • การให้ยาแก้แพ้ (Antihistamines) และยาคอร์ติโซน (Cortisone) ทางหลอดเลือดเพื่อลดการอักเสบของทางเดินหายใจและทำให้การหายใจดีขึ้น
  • ยากลุ่มบีตา-อะโกนิสต์ (ฺBeta-agonist) เช่น ยาอัลบูเทอโรล (Albuterol) เพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เกี่ยวกับการหายใจ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรงสามารถป้องกันตนเองได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นภูมิแพ้ ที่ทราบให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • การใช้เครื่องมือฉีดยาอัตโนมัติ โดยจำเป็นต้องพกฮอร์โมนเอพิเนฟรีน (Epinephrine) เพื่อใช้เมื่อเกิดอาการ
  • แจ้งครอบครัวและเพื่อนให้ทราบเกี่ยวกับอาการแพ้ สิ่งกระตุ้นภูมิแพ้ และอาการภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง หากจำเป็นต้องพกฮอรืโมนเอพิเนฟรีน ควรแจ้งที่เก็บและวิธีใช้ ให้ชัดเจน
  • เก็บชุดยาที่แพทย์สั่งไว้อย่างเหมาะสมให้หยิบใช้ได้ง่ายตลอดเวลา

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Anaphylaxis. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/anaphylaxis/basics/treatment/con-20014324. Accessed September 25, 2016.

Anaphylaxis. http://www.webmd.com/allergies/anaphylaxis-allergies. Accessed September 25, 2016.

Anaphylaxis. https://www.healthline.com/health/anaphylaxis. Accessed September 25, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/07/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

หอบหืดจากภูมิแพ้ โรคนี้มีอาการ สาเหตุ และวิธีการรักษายังไงบ้างนะ

ภูมิแพ้นิกเกิล โรคที่คนชอบใส่เครื่องประดับต้องระวัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 30/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา