ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (Low-dose helical computed tomography)
เป็นการทดสอบด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดยใช้ปริมาณรังสีต่ำเพื่อฉายให้เห็นภาพภายในปอด ใช้เพื่อตรวจหาความผิดปกติของปอดและเซลล์มะเร็งปอดตั้งแต่ในช่วงระยะแรกเริ่ม
การตรวจคัดกรองมะเร็งแบบอื่น ๆ
การตรวจอื่น ๆ ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็ง มีดังนี้
สารวัดสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ (CA-125 test)
เป็นการทดสอบเลือดเพื่อตรวจหาโปรตีน CA-125 ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบได้ในเซลล์มะเร็งรังไข่ การตรวจนี้อาจใช้สำหรับตรวจหาสัญญาณของมะเร็งรังไข่ในระยะแรกสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือใช้เพื่อประเมินการกลับมาเป็นซ้ำของผู้ที่เคยเป็นโรคมะเร็งรังไข่ อย่างไรก็ตาม สภาวะอื่น ๆ เช่น การมีประจำเดือน ก็อาจส่งผลให้มีค่า CA-125 สูงได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรตรวจร่วมกับวิธีการตรวจอื่น ๆ เช่น การอัลตราซาวด์ช่องคลอด
การตรวจวัดระดับของอัลฟา-ฟิโต โปรตีนในเลือด (Alpha-fetoprotein blood test)
การทดสอบนี้ในบางกรณีใช้ทดสอบควบคู่กับการอัลตราซาวด์ตับ เพื่อตรวจหามะเร็งตับในระยะเริ่มต้นในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง โดยคุณหมอจะเก็บตัวอย่างโปรตีนอัลฟา-ฟิโต (Alpha Fetoprotein: AFP) ไปทดสอบในห้องทดลอง ซึ่งเป็นโปรตีนที่จะถูกสร้างจากตับในตัวอ่อนขณะอยู่ในครรภ์มารดา และลดลงเมื่อคลอดออกมา แต่หากตับได้รับการบาดเจ็บ หรือเกิดมะเร็งขึ้น จะทำให้ระดับค่า AFP เพิ่มขึ้น
การตรวจวินิจฉัยเต้านมด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Breast MRI)
การทดสอบนี้มักใช้ตรวจหามะเร็งเต้านมในผู้หญิงที่มีการกลายพันธุ์ที่เป็นอันตรายในยีน BRCA1 หรือยีน BRCA2 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเป็นมะเร็งเต้านม โดยคุณหมออาจให้ยาระงับประสาทอ่อน ๆ จากนั้นฉีดสีย้อมผ่านทางเส้นเลือดเพื่อทำให้มองเห็นเนื้อเยื่อหรือหลอดเลือดได้ง่ายขึ้นเมื่อทำการตรวจด้วย MRI ระหว่างการตรวจ MRI คุณหมอจะให้นอนคว่ำหน้าบนโต๊ะสแกนที่มีเบาะรอง หน้าอกจะพอดีกับโพรงกลวงในโต๊ะซึ่งมีขดลวดที่ตรวจจับสัญญาณแม่เหล็กจากเครื่อง MRI จากนั้นทั้งโต๊ะจะเลื่อนเข้าไปในช่องเปิดของเครื่องเพื่อเริ่มการตรวจ
การตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยเทคโนโลยีซีทีสแกน (Virtual colonoscopy)
การทดสอบนี้ช่วยให้ตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักจากภายนอกร่างกายได้ เพื่อตรวจหาปัญหาที่อาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งจากนอกลำไส้ใหญ่ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลอีกครั้ง ซึ่งวิธีตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยเทคโนโลยีซีทีสแกน จะสร้างภาพตัดขวางของอวัยวะในช่องท้องจำนวนหลายรูป จากนั้นรูปจะถูกรวมกันและจัดการแบบดิจิทัลเพื่อให้มองเห็นรายละเอียดด้านในของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
การตรวจผิวหนัง
การตรวจดูความผิดปกติของผิวหนัง เช่น ไฝที่เปลี่ยนแปลง มีสีแดง มีอาการเจ็บปวด หรือไฝขยายใหญ่ขึ้น อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งผิวหนังได้ คุณหมอมักแนะนำให้ผู้ที่เสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังตรวจผิวหนังเป็นประจำ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย