ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์และระดับความรุนแรง
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อาจมีดังนี้
- การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนหลังหมดประจำเดือน หลังหมดประจำเดือนร่างกายอาจหยุดผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และอาจจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนในปริมาณเล็กน้อย จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
- อายุ ความเสี่ยงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกอาจเพิ่มขึ้นตามอายุ กรณีส่วนใหญ่อาจเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มีอายุ 40-74 ปี อาจมีเพียง 1% ที่อาจพบในผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 40 ปี
- ไม่เคยตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่ไม่เคยตั้งครรภ์อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อาจเป็นเพราะระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้น และระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในระดับต่ำที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์มีผลในการป้องกันเยื่อบุมดลูก
- ระดับอินซูลินสูง ภาวะต่าง ๆ เช่น ระดับอินซูลินในเลือดสูง อาจทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอก
- น้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือ โรคอ้วน อาจทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้มากขึ้น
- การมีประจำเดือนเป็นเวลาหลายปี การมีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี หรือการหมดประจำเดือนช้า อาจทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานาน จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
- รับประทานฮอร์โมนทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนรักษามะเร็งเต้านม อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น ซึ่งความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอาจมีมากกว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากทาม็อกซิเฟนในการป้องกันมะเร็งเต้านม ดังนั้น ควรไปพบคุณหมอก่อนรับประทานทาม็อกซิเฟน
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
คุณหมออาจวินิจฉัยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกจากประวัติสุขภาพ การตรวจร่างกาย และการตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก ในการตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อ คุณหมออาจนำตัวอย่างเนื้อเยื่อจากมดลูกไปตรวจเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ รวมถึงอาจจะสอบถามเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อวินิจฉัยการเติบโตของมะเร็ง
โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อาจแพร่กระจายไปยังกระเพาะปัสสาวะ ไส้ตรง และอวัยวะอื่น ๆ ดังนั้น คุณหมออาจต้องทำการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อวินิจฉัยระยะของมะเร็ง การตรวจดังกล่าวอาจมีดังนี้
- การขูดมดลูก (Uterine Curettage)
- การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test)
- สแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
- เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
- การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
การรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
การรักษาอาจขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง หากระยะของมะเร็งไม่มีการแพร่กระจาย คุณหมออาจผ่าตัดนำก้อนเนื้อในมดลูก หรือรังไข่ และท่อนำไข่ทั้งหมด หากมะเร็งมีการแพร่กระจายออกไป แต่แพร่กระจายออกไปไม่มากเกินไป คุณหมออาจนำเนื้อเยื่อโดยรอบบางส่วนหรือต่อมน้ำเหลืองออก เพื่ออาจหลีกเลี่ยงโอกาสในการแพร่กระจายของมะเร็ง (Cancer Metastasis)
นอกจากนั้น คุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้วยโรงมะเร็งอาจให้ผู้ป่วยเข้ารับรังสีรักษา การรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด ยาคอร์ติโซน (Cortisone) และเคมีบำบัด เพื่อกำจัดมะเร็งที่หลงเหลืออยู่ และอาจป้องกันการแพร่กระจายของมะเร็ง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
การรักษามะเร็งอาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ รวมทั้งอาจมีอาการอ่อนเพลียที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ ผู้ป่วยอาจปรึกษาญาติและเพื่อนเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังประสบอยู่ นอกจากนั้น ผู้ป่วยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกอาจดูแลตัวเองได้ ดังนี้
- ปรึกษาศัลยแพทย์และแพทย์มะเร็งวิทยาที่มีประสบการณ์ในการรักษามะเร็ง
- หมั่นไปพบคุณหมอในระหว่างและหลังการรักษา เพื่ออาจตรวจหาผลข้างเคียงและการเกิดมะเร็งซ้ำ
- อาจกลับไปทำกิจกรรมได้ตามปกติ รวมทั้งอาจมีเพศสัมพันธ์ได้ก็ต่อเมื่อผ่านไปแล้ว 4-8 สัปดาห์ หลังการผ่าตัด
- ผู้ป่วยในวัยหมดประจำเดือน อาจต้องทำความเข้าใจว่าจะไม่มีประจำเดือนอีกหลังการผ่าตัด
- อาจต้องทำความเข้าใจว่า หากมีการผ่าตัดนำรังไข่ออกอาจมีอาการร้อนวูบวาบเกิดขึ้น
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย