7. มะเร็งเต้านม สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบได้บ่อยในผู้หญิง มีสาเหตุมาจากการที่เซลล์ในร่างกายแบ่งตัวอย่างรวดเร็วจนก่อให้เกิดเป็นเนื้องอก และเซลล์มะเร็ง ซึ่งอาจแพร่กระจายไปยังบริเวณต่อมน้ำเหลืองและส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ โดยสังเกตได้จากก้อนเนื้อบริเวณเต้านม เต้านมขยาย หัวนมพลิกหรือบุ๋มเข้าไปด้านใน สีผิวรอบเต้านมเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเต้านม
- เพศหญิง เนื่องจากมีแนวโน้มที่เสี่ยงเป็นมะเร็งบ่อยกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงมีจำนวนเซลล์เต้านมมากกว่า เมื่อเซลล์เจริญเติบโตผิดปกติจึงอาจก่อให้เกิดเซลล์มะเร็ง
- อายุที่มากขึ้น
- ครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม และการกลายพันธุ์ของยีนที่ได้รับผ่านทางพันธุกรรม
- ปัญหาเกี่ยวกับเต้านม เช่น เคยเป็นมะเร็งเต้านมข้างเดียวมาก่อน มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- การฉายรังสีบริเวณหน้าอกตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก
- ไม่เคยตั้งครรภ์
- มีบุตรในช่วงอายุมาก
- วัยหมดประจำเดือน และได้รับการบำบัดด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมกับฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน สำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือน
- โรคอ้วน
- มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม
- เริ่มหมดประจำเดือนในช่วงอายุที่มาก อาจส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้
8. มะเร็งผิวหนัง เกิดจากเซลล์บนผิวหนังเจริญเติบโตผิดปกติ โดยอาจถูกกระตุ้นจากแสงแดด สารเคมี สารพิษ จนพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับผิวหนังทั่วทั้งร่างกาย เช่น หนังศีรษะ มือ ใบหน้า ริมฝีปาก คอ หู แขน หน้าอก ขา ส่งผลทำให้สีผิวคล้ำ มีก้อนเนื้อสีแดง ผิวหนังเป็นแผลและสะเก็ด รู้สึกแสบร้อนผิว อาการคัน
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งผิวหนัง
- ผิวหนังสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานาน
- ครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งผิวหนัง
- ผู้ที่มีภาวะผื่นแอกทินิกเคอราโทซิส (Actinic Keratosis) คือ ภาวะก่อนเป็นมะเร็งที่เกิดจากการถูกทำลายเซลล์ผิวหนังส่งผลให้เกิดผื่น ผิวเป็นขุย
- ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
- การสัมผัสกับรังสีที่ใช้รักษาปัญหาผิว เช่น กลาก สิว
- สัมผัสกับสารอันตราย เช่น สารหนู
9. มะเร็งเม็ดเลือดขาว แม้จะยังไม่อาจทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่คาดว่าอาจมาจากการพัฒนาร่วมกับการกลายพันธุ์ของยีนที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีไขกระดูกคอยสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติออกมาจำนวนมาก อาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่พบได้บ่อย อาจสังเกตได้จาก
- ต่อมน้ำเหลืองโต
- มีไข้
- หนาวสั่น
- อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง
- ปวดกระดูก
- น้ำหนัดลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- เลือดออกและฟกช้ำง่าย
- จุดแดงบนผิวหนัง
- เหงื่อออกมากช่วงเวลากลางคืน
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น อาการดาวน์ซินโดรม
- การสัมผัสกับสารเคมี เช่น สูบบุหรี่ เบนซินที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
- ครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- มีประวัติการรักษามะเร็งก่อนหน้านี้ด้วยเคมีบำบัด การฉายรังสี
10. มะเร็งต่อมไทรอยด์ พบได้บ่อยในช่วงอายุ 30-60 ปี โดยผู้หญิงอาจมีแนวโน้มเป็นมากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่า ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของยีนที่ทำให้เซลล์เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ก่อตัวเป็นเนื้องอกและทำลายเนื้อเยื่อรอบ ๆ ในระยะแรกอาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่เมื่อก้อนเนื้อเริ่มโตขึ้นอาจทำให้รู้สึกกลืนอาหารลำบาก เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และมีก้อนที่คอ ซึ่งอาจสัมผัสได้ผ่านทางผิวหนังด้านนอก
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งต่อมไทรอยด์
- การสัมผัสกับรังสีที่ใช้ในรักษาบริเวณศีรษะ และคอมาก่อน
- สภาวะของโรค เช่น เนื้องอกบริเวณต่อมไร้ท่อ กลุ่มอาการคาวเดน (Cowden’s Syndrome) โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Familial Adenomatous Polyposis) โรคอ้วน โรคอะโครเมกาลี (Acromegaly)
- อายุและเพศ ถึงแม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ผู้หญิงอาจมีแนวโน้มเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์มากกว่าผู้ชายมากกว่า 3 เท่า ส่วนใหญ่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่อายุ 40-50 ปี
วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง
วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกัน และลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง อาจทำได้ดังนี้
- รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ควรเลือกอาหารที่อุดมด้วยผัก ผลไม้ โปรตีนที่มีไขมันต่ำ ธัญพืชไม่ขัดสี และจำกัดการบริโภคอาหารแปรรูป
- ควบคุมน้ำหนัก เพราะหากน้ำหนักมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งได้ และออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 30 นาที
- หลีกเลี่ยงการตากแดดมากเกินไป เนื่องจากรังสียูวีอาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง ควรหมั่นทาครีมกันแดด หรือสวมใส่เสื้อผ้าที่ช่วยป้องกันแสงแดด
- เลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากสารในบุหรี่อาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปอดรวมถึงปัญหาสุขภาพอื่น ๆ
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่จำกัด สำหรับผู้หญิงควรบริโภควันละ 1 แก้ว ส่วนผู้ชายควรบริโภควันละ 2 แก้ว หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
- ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นประจำ โดยขอคำปรึกษาจากคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยด้วยวิธีที่เหมาะสม
- ฉีดวัคซีนตามกำหนด เนื่องจากไวรัสบางชนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปากมดลูก การฉีดวัคซีนจึงอาจช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ต่อสู้กับไวรัสและช่วยลดความเสี่ยงนี้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย