4. ควบคุมน้ำหนัก
การมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งได้หลายชนิด ได้แก่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เต้านม ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มดลูก ถุงน้ำดี ท้องส่วนบน ไต ตับ รังไข่ ตับอ่อน ไทรอยด์ สมอง และมะเร็งเม็ดเลือดขาว เนื่องจากการมีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงการอักเสบของเนื้อเยื่อเป็นระยะเวลานาน จนอาจพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
การควบคุมน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์ที่เหมาะสมอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งด้วยการวัดน้ำหนัก ส่วนสูง และค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ 18.5 – 22.90 เสมอ ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน และรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ผักผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน นมไขมันต่ำ
5. ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมีส่วนช่วยในการควบคุมน้ำหนัก เสริมสร้างสุขภาพ กล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นและลดการอักเสบของเนื้อเยื่อได้ ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ โดยควรเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกายในระดับความเข้มขนปานกลาง เช่น แอโรบิค ว่ายน้ำ เดินเร็ว อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ หรืออาจเพิ่มการออกกำลังกายแบบความเข้มข้นสูงร่วมกับระดับความเข้มข้นปานกลางได้อีกอย่างน้อย 30 นาที เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการสูบฉีดเลือดในร่างกายที่ดียิ่งขึ้น
6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
การนอนหลับอาจไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการช่วยป้องกันมะเร็ง แต่การนอนหลับอย่างเพียงพอนั้นส่งผลดีต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย เนื่องจากในระหว่างการนอนหลับสนิทร่างกายสามารถซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและพักฟื้นจากความเหน็ดเหนื่อยตลอดทั้งวัน อีกทั้งยังช่วยผ่อนคลายความเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ จึงอาจสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้
7. ป้องกันแสงแดด
แสงแดดอาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ เนื่องจากในแสงแดดมีรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet : UV) ที่เป็นอันตรายต่อผิวและอาจทำให้ผิวไหม้ แสบร้อน ผิวแดง และอาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการออกนอกอาคารในช่วงที่มีแดดจัด คือประมาณ 11.00-15.00 น. แต่หากจำเป็นต้องออกนอกอาคารควรปกป้องผิวจากแสงแดดด้วยการทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF30 ขึ้นไปทุกครั้ง ใช้หมวกปีกกว้างหรือกางร่มเพื่อปกป้องผิวบริเวณใบหน้า ใส่เสื้อผ้าแขนยาวขายาว และสวมแว่นกันแดด เพื่อช่วยป้องกันผิวหนังจากการถูกแสงแดดทำร้าย
8. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อหรือการสัมผัสกับสารพิษที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็ง เช่น
- หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนหลายคน และควรใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็ง เช่น
- ติดเชื้อเอชไอวี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งทวารหนัก ตับและปอด
- ติดเชื้อ HPV อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูก ทวารหนัก องคชาต ลำคอ ช่องคลอด และช่องคลอด
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย