มีการศึกษาหนึ่ง เกี่ยวกับผลของแอนโทไซยานิน ในการป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน ซึ่งทำการศึกษาทั้งในสัตว์ทดลอง เเละ มนุษย์ ตีพิมพ์ในวารสาร Advances in Clinical and Experimental Medicine ปี พ.ศ. 2561 พบว่า แอนโทไซยานิน อาจมีคุณสมบัติเชิงบวกต่อโรคเบาหวานดังนี้
- กระตุ้นการหลั่งอินซูลินทำให้สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด
- ส่งเสริมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตของร่างกาย
- ลดการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน
- ผลไม้ที่มีสารแอนโทไซยานิน จึงอาจเหมาะเป็นหนึ่งในผลไม้สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
2. แอปเปิ้ล
แอปเปิ้ลมีค่าดัชนีน้ำตาล 39 และอุดมไปด้วยสารพฤกษเคมีหลายชนิด ที่เป็นผลดีกับโรคเบาหวาน เช่น
- ฟีเควอซิทิน (Fequercetin) มีคุณสมบัติกระตุ้นการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ และกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญน้ำตาลของร่างกายจึงมีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
- คาเทชิน (Catechin) มีคุณสมบัติในการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของโรคเบาหวาน อาทิเช่น กระบวนการออกซิเดชัน ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเครียดของเซลล์ ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน รวมถึงช่วยกระตุ้นการตอบสนองต่ออินซูลินของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายด้วย
- กรดคลอโรจีนิก (Chlorogenic Acid) มีคุณสมบัติช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากไปยั้งการทำงานของเอนไซม์กลูโคส 6-ฟอสเฟต (Glucose 6-Phosphate หรือ G6P) ในกระบวนการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตเป็นน้ำตาลกลูโคส จึงทำให้ระดับน้ำตาลลดลงได้
ได้มีการศึกษารวบรวมผล เกี่ยวกับการบริโภคแอปเปิ้ลและลูกแพร์ ต่อความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Functional Foods ปี พ.ศ. 2560 โดยรวบรวมผลจากการศึกษา 5 ฉบับ มีอาสาสมัครที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 228,315 ราย โดยที่มีผํู้ที่เป็นเบาหวานมากถึง 14,120 ราย พบว่า แอปเปิ้ลและลูกแพร์ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ 18 เปอร์เซ็นต์
3. สตรอว์เบอร์รี่
สตรอว์เบอรร์รี่มีค่าดัชนีน้ำตาล 41 และมีสารโพลีฟีนอล (Polyphenol) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหาร โดยช่วยเพิ่มการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกาย รวมถึงปกป้องเบต้าเซลล์ (β Cells) ของตับอ่อนซึ่งมีหน้าที่ผลิตและหลั่งอินซูลิน
มีการศึกษา ว่าด้วยความสัมพันธ์ของการบริโภคผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ต่อภาวะดื้ออินซูลินและโรคเบาหวานชิดที่ 2 ตีพิมพ์ในวารสาร Food & Function Journal ปี พ.ศ. 2563 ทำการศึกษาในกลุ่มอาสาสมัครวัยผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอ้วน โดยให้บริโภคผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่เพียงอย่างเดียว พบว่าผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น สตรอว์เบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ ราสพ์เบอร์รี่ ซึ่งมีสารโพลีฟีนอล อาจช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลิน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่าง ๆ รวมถึงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากเบาหวานได้
4. องุ่นแดง
องุ่นมีค่าดัชนีน้ำตาล 43 และในเปลือกขององุ่นเเดงจะมีสารเรสเวอรเทรอล (Resveratrol) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน ควบคุมระดับระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด รวมถึงช่วยป้องโรคความดันโลหิตสูง ที่มักพบร่วมกันในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้
การศึกษาหนึ่ง ว่าด้วยคุณสมบัติขององุ่นและผลิตภัณฑ์จากองุ่นที่มีต่อระดับน้ำตาลในร่างกาย ตีพิมพ์ในวารสาร Phytotherapy Research ปี พ.ศ. 2564 พบว่า องุ่นและผลิตภัณฑ์จากองุ่น อาจมีคุณสมบัติช่วยลดภาวะการดื้ออินซูลินได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่มีผลต่อระดับอินซูลินในร่างกายขณะอดอาหาร รวมถึงระดับน้ำตาลสะสมฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1C หรือ HbA1c)
ผลไม้ที่คนเป็นเบาหวานควรหลีกเลี่ยง
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือ ผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควรจำกัดปริมาณการรับประทานผลไม้บางชนิด โดยเฉพาะผลไม้ที่มีดัชนีน้ำตาลสูง ได้แก่ สับปะรด เเตงโม อินทผาลัมเ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรงดผลไม้ เพราะในผลไม้มีวิตามิน แร่ธาตุ ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย