ผักที่มีไฟเบอร์สูง
ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานผักที่มีไฟเบอร์สูงซึ่งอาจช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ซึ่งผักที่มีไฟเบอร์สูง เช่น แครอท หัวผักกาด บร็อคโคลี่ กะหล่ำดาว ถั่วลันเตา อะโวคาโด
งานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร The New England Journal of Medicine ปี พ.ศ. 2543 ทำการวิจัยถึงประโยชน์ของการบริโภคใยอาหารสูงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า การรับประทานใยอาหารในปริมาณมาก โดยเฉพาะผักที่มีใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ อาจช่วยเพิ่มการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดภาวะอินซูลินในเลือดสูง และลดความเข้มข้นของไขมันในพลาสมาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
งานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the American Board of Family Medicine ปี พ.ศ. 2555 ทำการวิจัยถึงใยอาหารสำหรับการรักษาโรคเบาหวานประเภท 2 พบว่า การรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สำหรับผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดและลดการสะสมของน้ำตาลในเลือดได้ แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มใยอาหารในอาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นมีประโยชน์และควรได้รับการส่งเสริมให้รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์เพื่อช่วยจัดการโรค
ผักที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ผักบางชนิดอาจไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากอาจมีปริมาณแป้ง โซเดียม หรือไขมันที่มาจากการปรุงแต่งต่าง ๆ เช่น
- ผักกระป๋องหรือผักดองที่เพิ่มโซเดียมจำนวนมาก
- ผักปรุงกับเนย ชีส หรือซอสจำนวนมาก
- ผักทอดกรอบ
- ผักที่มีแป้งมาก เช่น มันฝรั่ง ข้าวโพด
ผักเหล่านี้อาจเพิ่มปริมาณน้ำตาล แป้ง โซเดียมที่มากเกินไปในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งอาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น คอเลสเตอรอลในเลือด ภาวะดื้อต่ออินซูลิน โรคหัวใจและหลอดเลือด
งานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Diabetes ปี พ.ศ. 2557 ทำการวิจัยถึงปริมาณโซเดียมในอาหารในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้น ดังนั้น การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมจำนวนมากอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูง ทั้งยังลดประสิทธิภาพของยาลดความดันโลหิต ดังนั้น การจำกัดปริมาณการบริโภคโซเดียมจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากอาจช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ โดยสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา ได้แนะนำว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควรจำกัดปริมาณโซเดียมในอาหารเอาไว้ที่ 1,500 มิลลิกรัม/วัน
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย