การวัดระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์
หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เช่น คุณแม่เป็นโรคอ้วนในช่วงเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน คุณหมออาจให้ทำการวัดระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ หรืออาจมีการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในช่วงระหว่างสัปดาห์ที่ 24 ถึงสัปดาห์ที่ 28 ของการตั้งครรภ์ หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกตินั่นอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณแม่อาจเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าที่จะเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สำหรับวิธีการวัดระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์ อาจทำได้ดังนี้
- การตรวจคัดกรองกลูโคส เป็นการวัดระดับน้ำตาลในเลือดโดยคุณหมอจะให้คุณแม่ดื่มสารละลายกลูโคส หลังจาก 1 ชั่วโมง คุณหมอจะทำการเจาะเลือด เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด หากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ที่ 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือต่ำกว่า นั่นแสดงว่าปกติ แต่หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าคุณแม่อาจอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ดังนั้น คุณหมออาจมีการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล (Glucose Tolerance Test) รวมถึงติดตามอาการ เพื่อดูว่าคุณแม่มีโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือไม่
- การทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล (Glucose Tolerance Test) เป็นการวัดระดับน้ำตาลในเลือดขณะที่อดอาหารข้ามคืน หลังจากนั้น คุณหมอจะให้ดื่มสารละลายกลูโคส และวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากผ่านไป 1-3 ชั่วโมง ทั้งนี้ ผลลัพธ์จะต่างกันไปขึ้นอยู่กับสารละลายกลูโคสที่ดื่มเข้าไป และความถี่ในการวัดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้น คุณแม่จึงควรถามผลการทดสอบจากคุณหมอ เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจน
เพื่อให้ได้ระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรงกับค่าที่เหมาะสม ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรควบคุมปริมาณน้ำตาลและแป้งให้พอดีกับมื้ออาหาร นอกจากนี้ ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำเพื่อติดตามผลการรักษา ติดตามความสมดุลของเลือดเพื่อวางแผนการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย สำหรับเวลาที่ผู้ป่วยควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือด คือ
- ตอนตื่นนอนก่อนรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มทุกชนิด
- ก่อนรับประทานอาหาร
- 2 ชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหาร
- ก่อนนอน
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องรักษาด้วยอินซูลินหรือมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คุณหมออาจแนะนำให้ผู้ป่วยวัดระดับน้ำตาลในเลือดบ่อยขึ้น และเมื่อสงสัยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย