อาการของโรคเบาหวาน
อาการของโรคเบาหวาน อาจมีดังนี้
- หิวบ่อย กระหายน้ำมากกว่าปกติ
- เหนื่อยง่าย
- ปวดปัสสาวะบ่อย
- น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุในเวลาอันสั้น
- สายตาพร่ามัว
- แผลหายช้ากว่าปกติ
- ผิวแห้ง หยาบกร้าน
- มีอาการชาที่มือและเท้า
- มีการติดเชื้อราที่ผิวหนัง เหงือก กระเพาะปัสสาวะ หรือช่องคลอดบ่อยครั้ง
- เป็นโรคผิวหนังช้าง เกิดเป็นรอยปื้นสีคล้ำที่บริเวณข้อพับต่าง ๆ เช่น หลังคอ รักแร้ ขาหนีบ
ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวาน
ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวาน มีดังนี้
ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 1
- มีพ่อแม่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1
- เป็นเด็ก วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาว
ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2
- มีภาวะก่อนเบาหวาน ซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่มีไขมันหน้าท้องหรืออ้วนลงพุง เสี่ยงเกิดภาวะดื้ออินซูลิน จนนำไปสู่โรคเบาหวานได้
- มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
- เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
- เป็นโรคไขมันพอกตับ
- เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes)
- มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ระบบเผาผลาญเริ่มทำงานได้ช้าลง
- มีคนในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
- สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- ไม่ค่อยออกกำลังกายหรือขยับร่างกายน้อย นั่งอยู่กับที่วันละหลายชั่วโมง
อาการของโรคเบาหวาน
อาการของโรคเบาหวาน อาจมีดังนี้
- หิวบ่อย กระหายน้ำมากกว่าปกติ
- เหนื่อยง่าย
- ปวดปัสสาวะบ่อย
- น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุในเวลาอันสั้น
- สายตาพร่ามัว
- แผลหายช้ากว่าปกติ
- ผิวแห้ง หยาบกร้าน
- มีอาการชาที่มือและเท้า
- มีการติดเชื้อราที่ผิวหนัง เหงือก กระเพาะปัสสาวะ หรือช่องคลอดบ่อยครั้ง
- เป็นโรคผิวหนังช้าง เกิดเป็นรอยปื้นสีคล้ำที่บริเวณข้อพับต่าง ๆ เช่น หลังคอ รักแร้ ขาหนีบ
วิธีป้องกันโรคเบาหวาน
การดูแลตัวเองด้วยวิธีต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้
- ออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกายและการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้ หากเลือกออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นปานกลาง เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอโรบิกในน้ำ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือวันละ 30 นาที และหากออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นสูง เช่น วิดพื้น ซิทอัพ กระโดดเชือก ปั่นจักรยานเร็ว ว่ายน้ำเร็ว เดินขึ้นเขา ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 75 นาทีต่อสัปดาห์
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้หลากหลาย เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ขนมปังโฮลวีท ผักและผลไม้หลากสี พืชตระกูลถั่ว ไข่ ปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน และควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ เช่น มันฝรั่งทอด แฮมเบอร์เกอร์ หมูกระทะ ชาบูปิ้งย่าง
- รับมือกับความเครียดให้ดีและทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง เมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนความเครียด เช่น ฮอร์โมนคอร์ติซอล ในระดับสูง ซึ่งอาจทำให้เบต้าเซลล์ในตับอ่อนทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพและผลิตอินซูลินได้น้อยลง จนส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้ จึงควรคลายเครียดด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น พูดคุยและรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์หรือนักบำบัด ทำกิจกรรมที่ชอบและผ่อนคลายอย่างการอ่านหนังสือ การดูหนัง การไปเที่ยวพักผ่อนกับครอบครัว เป็นต้น
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย