การผลิตหรือการใช้ฮอร์โมนอินซูลินมากเกินไป
ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจได้รับฮอร์โมนอินซูลินเพื่อช่วยจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือด แต่หากได้รับฮอร์โมนอินซูลินมากเกินไป อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ซึ่งอาจทำให้มีอาการอาการสับสน มึนงง วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น เหงื่อออก ผิวสีซีด หิว วิตกกังวล และหมดสติได้ โดยร่างกายจะตอบสนองต่อภาวะนี้โดยการปล่อยกลูโคสที่เก็บไว้ในตับออกมามากขึ้นเพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดสมดุล อย่างไรก็ตาม หากมีอาการรุนแรงขึ้นและระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมากกว่าปกติ โดยไม่ได้ทำการรักษา อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการโคม่าได้
การรักษาโรคเบาหวานด้วยฮอร์โมนอินซูลิน
การฉีดฮอร์โมนอินซูลินเพื่อรักษาโรคเบาหวานสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
- อินซูลินที่ออกฤทธิ์เร็ว เหมาะสำหรับการป้องกันน้ำตาลในเลือดสูงหลังรับประทานอาหาร ออกฤทธิ์หลังฉีดประมาณ 2.5-20 นาที และจะมีประสิทธิภาพสูงสุดประมาณ 1-3 ชั่วโมงหลังฉีด สามารถออกฤทธิ์ได้นาน 5 ชั่วโมง เช่น อินซูลิน ลิสโปร (Insulin lispro) แอสพาร์ท (Aspart) กลูลิซีน (Glulisine)
- อินซูลินที่ออกฤทธิ์สั้น เหมาะสำหรับการป้องกันน้ำตาลในเลือดสูงหลังรับประทานอาหาร ใช้เวลาออกฤทธิ์นานกว่าอินซูลินที่ออกฤทธิ์เร็ว โดยจะเริ่มลดระดับน้ำตาลในเลือดภายใน 30 นาที มีประสิทธิภาพสูงสุดประมาณ 2-5 ชั่วโมงหลังการฉีด อยู่ได้ยาวนานเป็นเวลา 6-8 ชั่วโมง เช่น โนโวลิน (Novolin) เวโลซูลิน (Velosulin)
- อินซูลินที่ออกฤทธิ์ปานกลาง ออกฤทธิ์ยาวนานกว่า มีลักษณะขุ่นและต้องใช้แบบผสม เริ่มออกฤทธิ์ 60-90 นาทีหลังฉีด มีประสิทธิภาพสูงสุดประมา 16-24 ชั่วโมง มักใช้ร่วมกับอินซูลินแบบออกฤทธิ์เร็วหรือออกฤทธิ์สั้น เช่น NPH
- อินซูลินที่ออกฤทธิ์ยาว ออกฤทธิ์ได้ยาวนานราว 8-40 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับฮอร์โมนอินซูลินแต่ละชนิด เช่น อินซูลิน กลาจิน (Insulin glargine) อินซูลิน ดีทีเมียร์ (Insulin detemir) อินซูลิน ดีกลูเดก (Insulin degludec )
- อินซูลินแบบผสม อาจเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่อายุมาก มีปัญหาในการมองเห็น หรือเพิ่งเริ่มการรักษาด้วยอินซูลิน เป็นฮอร์โมนอินซูลินแบบผสมที่ประกอบด้วยอินซูลินที่ออกฤทธิ์เร็วหรือออกฤทธิ์สั้นผสมกับอินซูลินที่ออกฤทธิ์ปานกลาง
การฉีดอินซูลินเข้าร่างกายสามารถทำได้ด้วยการใช้อุปกรณ์ คือใช้ปากกาอินซูลิน ฉีดอินซูลินเข้าไปใต้ชั้นผิวหนัง ความถี่อาจขึ้นอยู่กับชนิดของโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือด และความถี่ของการรับประทานอาหาร หรือใช้อินซูลินปั๊ม ซึ่งเป็นวิธีการส่งอินซูลินเข้าไปในท่อที่เจาะไว้ใต้ผิวหนังในปริมาณเล็กน้อยอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งวัน
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย