เมื่อไรควรไปพบคุณหมอ
เพื่อป้องกันตัวเองจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ผู้ป่วยเบาหวานควรรีบไปพบคุณหมอ เมื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองแล้วพบว่า สูงกว่า 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก่อนมื้ออาหาร หรือสูงกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หลังมื้ออาหาร
นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานอาจสังเกตอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาทิ
- ปัสสาวะบ่อย
- กระหายน้ำมาก
- อ่อนเพลีย
- ปากแห้ง
- หายใจเหม็นเปรี้ยว
- หายใจลำบาก
- คลื่นไส้ อาเจียน
การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป โดยเฉพาะค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงถึง 300 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือเกินไปกว่านั้น โดยผู้ป่วยเบาหวานควรปฏิบัติดังนี้
- ฉีดอินซูลิน และรับประทานยาตามที่คุณหมอแนะนำ เพื่อให้ร่างกายสามารถลำเลียงน้ำตาลไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย และรักษาค่าน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ หรืออย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ ยกเว้นในกรณีของผู้ป่วยเบาหวานซึ่งมีระดับคีโตนสูง เนื่องจากอาจทำให้ความดันโลหิตสูงได้ อาจใช้การออกกำลังเบา ๆ หรือปรึกษาคุณหมอถึงท่าทางการออกกำลังกายหรือการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมแก่ภาวะสุขภาพ เพราะผู้ป่วยเบาหวานควรเคลื่อนไหวร่างกายมากกว่าอยู่นิ่ง ๆ
- รับประทานอาหารที่เหมาะสม โดยหลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม รวมถึงควรบริโภคแป้งต่อวันในปริมาณจำกัดหรือประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของแคลอรี่ที่จำเป็น ซึ่งปริมาณพลังงานที่แต่ละคนควรได้รับนั้นขึ้นอย่กับอายุ น้ำหนัก ระบบเผาผลาญ และกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน แต่โดยปกติ ผู้ชายควรได้รับพลังงานประมาณ 2,500 กิโลแคลอรี่/วัน และผู้หญิงควรได้รับพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี่/วัน
- ตรวจระดับน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติ ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป หากค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ จะได้รีบดูแลตนเอง หรือพบคุณหมอ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย