การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
เพื่อตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับอินซูลินอาจจำเป็นต้องตรวจเป็นประจำเพื่อช่วยควบคุมไม่ให้ระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำเกินไป
การปลูกถ่ายตับอ่อน
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 อาจรับการปลูกถ่ายตับอ่อนใหม่เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการผลิตอินซูลินมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีอาจจะมีการปลูกถ่ายตับอ่อนร่วมกับการปลูกถ่ายไตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังด้วย และผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานยากดภูมิต้านทาน เพื่อป้องกันการปฏิเสธอวัยวะไปตลอดชีวิต
การผ่าตัดลดน้ำหนัก
อาจใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เป็นโรคอ้วน เพื่อช่วยควบคุมปริมาณการรับประทานอาหาร และอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งการลดน้ำหนักในผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคอ้วนอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดลงและกลับมาเป็นปกติ จนอาจไม่ต้องทำการรักษาด้วยยาโรคเบาหวานอีก แบ่งออกเป็น 3 วิธี ได้แก่
- การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลง (restrictive procedure)
- การผ่าตัดเพื่อลดการดูดซึมอาหาร (malabsorptive procedure)
- การผ่าตัดอาศัยทั้งกลไกการลดขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลงร่วมกับลดการดูดซึมอาหาร (combine both restrictive and malabsorptive procedure)
นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางประการ อาจเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาโรคเบาหวานได้ เช่น
- รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ควรเลือกอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลต่ำ กากใยสูง โดยเน้นรับประทานผักและผลไม้ โปรตีน และธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น เนื้อไม่ติดมัน ผักผลไม้ พืชตระกูลถั่ว ปลา นมไขมันต่ำ ขนมปังโฮลวีท นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงและไขมันทรานส์อีกด้วย
- ออกกำลังกาย ผู้ป่วยเบาหวานควรออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเดินเร็ว ว่ายน้ำ เต้นแอโรคบิค ขี่จักรยาน โดยควรออกกำลังกาย 30 นาทีขึ้นไป อย่างน้อย 5 วัน/สัปดาห์ เพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งการออกกำลังกายอาจช่วยเผาผลาญน้ำตาลให้กลายเป็นพลังงาน และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินในร่างกายอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยก่อนเสมอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย