- รู้สึกหิวบ่อย
- ปากแห้ง กระหายน้ำ
- การมองเห็นเปลี่ยนแปลง เช่น เห็นเป็นภาพซ้อน ตาพร่ามัว
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
- เหนื่อยล้าง่าย
- แผลหายช้า
- ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
- ปัสสาวะบ่อย และอาจส่งผลให้นอนหลับไม่เพียงพอ
- มีคีโตนในปัสสาวะมาก เนื่องจากร่างกายขาดพลังงาน
- คันบริเวณอวัยวะเพศ
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ติดเชื้อบ่อยครั้ง เช่น ติดเชื้อที่ผิวหนัง ติดเชื้อในช่องคลอด
การรักษาเบาหวาน
การรักษาเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 คือ การหมั่นตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือด และการบำบัดด้วยยาอินซูลิน ประเภทของอินซูลินมีทั้งแบบออกฤทธิ์สั้น ออกฤทธิ์เร็ว และออกฤทธิ์นาน ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของคุณหมอว่าสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเหมาะกับอินซูลินรูปแบบใด นอกจากการใช้ยาอินซูลินแล้ว คุณหมออาจรักษาด้วยยารับประทาน หรือยาฉีดชนิดอื่น ๆ และในปัจจุบันมียารักษาเบาหวานหลากหลายชนิด เพื่อให้ร่างกายจัดการกับอินซูลินได้ดีขึ้น
หากรักษาด้วยยาอินซูลินไม่ได้ผล การปลูกถ่ายตับอ่อนใหม่อาจช่วยให้ร่างกายผลิตอินซูลินได้ดีขึ้น แต่วิธีนี้อาจไม่สำเร็จเสมอไป หรือผู้ป่วยอาจต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกันร่วมด้วย เพื่อป้องกันร่างกายปฏิเสธอวัยวะใหม่
การป้องกันเบาหวาน
ปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น อาหารไขมันต่ำ มีเส้นใยอาหารสูง เน้นผักและผลไม้
- ออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นปานกลางประมาณ 30 นาทีต่อวัน เช่น เดิน วิ่งเหยาะ ๆ
- ลดน้ำหนักส่วนเกิน ด้วยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดหัวใจ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย