ภาวะแทรกซ้อนของ diabetes
ภาวะที่น้ำตาลในเลือดสูงและเป็นโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับได้ อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นประสาทถูกทำลาย โรคไต จอประสาทตาเสื่อม สูญเสียการมองเห็น สูญเสียการได้ยิน ปัญหาสุขภาพเท้า ภาวะซึมเศร้า ภาวะสมองเสื่อม
นอกจากนี้ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น คลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวมาก เพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 น้ำตาลในเลือดต่ำ
การรักษา diabetes
การรักษาโรคเบาหวานอาจสามารถทำได้ ดังนี้
- การฉีดอินซูลิน เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณของอินซูลินในร่างกายในการช่วยเผาผลาญน้ำตาลและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
- ยารักษาเบาหวาน เช่น เมตฟอร์มิน (Metformin) ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) ยากลุ่มไกลไนด์ (Glinides) ยากลุ่มไธอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinediones) สารยับยั้งกลุ่มดีพีพีโฟร์ (DPP-4) เพื่อกระตุ้นตับอ่อนให้ผลิตและปล่อยอินซูลินมากขึ้น ช่วยในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- การปลูกถ่ายตับอ่อน เป็นวิธีการรักษาที่คุณหมออาจแนะนำให้กับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเข้าทำลายเซลล์ที่ผลิตอินซูลินในตับอ่อน ซึ่งหากการผ่าตัดสำเร็จอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยอินซูลิน แต่หากการผ่าตัดไม่สำเร็จ ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต เพื่อป้องกันร่างกายปฏิเสธอวัยวะใหม่
- ผ่าตัดลดความอ้วน คุณหมออาจแนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เป็นโรคอ้วน ผ่าตัดลดความอ้วน ซึ่งเป็นการผ่าตัดกระเพาะอาหาร เพื่อช่วยลดการดูดซึมน้ำตาล ส่งผลให้ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
การดูแลตัวเองและการป้องกัน diabetes
การดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอาจทำได้ดังนี้
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะหลังตื่นนอน ก่อนรับประทานอาหาร หลังรับประทานอาหาร และก่อนนอน เพื่อตรวจสอบค่าระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หลังอดอาหารเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
- เข้ารับการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจหาภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานที่อาจเป็นสัญญาณของความเสียหายต่อจอประสาทตา ต้อกระจก และโรคต้อหิน
- เข้ารับการฉีดวัคซีน เนื่องจาก น้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง จึงควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคที่เหมาะสม เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคปอดบวม วัคซีนตับอักเสบบี โดยควรฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุดหลังจากพบว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ 2 และหากผู้ป่วยเบาหวานมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ควรพบคุณหมอเพื่อตรวจภาวะสุขภาพก่อนรับวัคซีน
- ดูแลและตรวจสุขภาพเท้าอยู่เสมอ โดยการล้างเท้าทุกวันด้วยน้ำอุ่น และเช็ดเท้าให้แห้ง โดยเฉพาะระหว่างนิ้วเท้า จากนั้นการทาครีมหรือโลชั่นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวและป้องกันผิวแห้งแตกที่อาจทำให้เกิดปัญหาเท้าได้ และควรตรวจหาแผลพุพอง บาดแผล รอยแดง รอยบวมหรือรอยแมลงกัดต่อย หากพบความผิดปกติควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาบาดแผล ไม่ควรปล่อยให้แผลลุกลาม เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลเน่า เนื้อตาย ซึ่งอาจร้ายแรงจนถึงขั้นถูกตัดเท้าได้
- รักษาความดันโลหิตและคอเลสเตอรอล โดยการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดินเร็ว เต้นแอโรบิก ปั่นจักรยาน อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ หรือ 5 วัน/สัปดาห์ วันละ 30 นาที ซึ่งอาจช่วยควบคุมความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลในผู้ป่วยเบาหวานได้
- ดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่เหงือกได้ง่ายและอาจเป็นแผลลุกลามได้เร็ว เนื่องจากในผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นหลอดเลือดแดงตีบ อาจทำให้เลือดไปเลี้ยงยังอวัยวะต่าง ๆ ได้ไม่ดี ส่งผลทำให้แผลหายช้าและลุกลามได้ง่าย จึงควรแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หลังตื่นนอนและหลังรับประทานอาหาร นอกจากนี้ ควรตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน
- งดการสูบบุหรี่ เพื่อลดความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจ
- จัดการกับความเครียด ความเครียดอาจทำให้สุขภาพจิตและการทำงานของอินซูลินแย่ลง ส่งผลให้อินซูลินเผาผลาญน้ำตาลในเลือดได้ไม่เต็มที่และอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จึงควรจัดการความเครียดด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ อ่านหนังสือ ฟังเพลง เป็นต้น
การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน อาจทำดังนี้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย